Page 1 - Orchem บทนำ 1
P. 1

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง                                        เรอง เคมีอินทรีย์
                                                                                       ื่


                                                     ใบความรู้ที่ 1


                                  อินทรีย์เคมี และไฮบริไดเซชันของสารประกอบอินทรีย์



                       เคมีอินทรีย์เป็นวิชาที่ศึกษาสมบัติต่าง ๆ ของสารที่มีอะตอมของคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลัก โดยคำว่าอินทรีย์ มา
               จากคำว่า Organic หมายถึง ร่างกาย หรือ สิ่งมีชีวิต ดังนั้นเรื่องราวของสารอินทรีย์เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต
                                                                           ี
               สมัยก่อนนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสารอินทรีย์ได้มาจากสิ่งมีชีวิตเท่านั้นแต่ ฟรดริช เวอเลอร์ นักเคมีชาวเยอรมัน ได้
               สังเคราะห์สารอินทรีย์โดยการเผาแอมโมเนียมไซยาเนต ซึ่งเป็นสารประกอบ อนินทรีย์ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเป็น

               ดังนี้


                                        NH CNO                     NH CONH      2
                                                                       2
                                            4

                       ตั้งแต่นั้นมา ความรู้เกี่ยวกับสารอินทรีย์ได้เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันมีการค้นพบสารอินทรีย์  หลายล้าน
               ชนิด ซึ่งทุกชนิดประกอบด้วยธาตุคาร์บอน และเกือบทุกชนิดประกอบด้วยธาตุคาร์บอนและ  ไฮโดรเจน ส่วน

               ธาตุอื่น ๆ ที่พบในสารอินทรีย์ เช่น ออกซิเจน ไนโตรเจน กำมะถัน ฟลูออรีน คลอรีน เป็นต้น ดังนั้น จึงอาจ
               เรียกสารอินทรีย์ว่า “สารประกอบคาร์บอน”




                                                          ข้อความทราบ


                       สารอินทรีย์ หรือ สารประกอบคาร์บอน คือ สารประกอบที่มีธาตุคาร์บอน และไฮโดรเจน เป็น

               องค์ประกอบ ยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโคเวเลนซ์ระหว่างคาร์บอนกับคาร์บอน หรือคาร์บอนกับไฮโดรเจน
                       สารประกอบคาร์บอนบางชนิดจัดเป็นสารประกอบอนินทรีย์ ได้แก  ่

                      ➢ สารประกอบออกไซด์ของคาร์บอน คือ CO  CO   C O
                                                                    3 2
                                                                 2
                      ➢ สารประกอบคาร์บอเนต เช่น CaCO   Na CO
                                                               3
                                                       3
                                                            2
                      ➢ สารประกอบไฮโดรเจนคาร์บอเนต เช่น Ca(HCO )   NaHCO
                                                                            3
                                                                 3 2
                      ➢ สารประกอบคาร์ไบด์ เช่น CaC
                                                   2
                      ➢ สารประกอบไซยาไนด์ เช่น KCN
                      ➢ สารประกอบไซยาเนต เช่น NH CNO  KCNO
                                                   4
                      ➢ สารประกอบไทโอไซยาเนต เช่น NH SCN  KSCN
                                                       4
                      ➢ อื่น ๆ เช่น CS
                                     2








                                                                                                                 Organic Chemistry By Kru Nachamon    1
   1   2   3   4   5   6