Page 54 - คู่มือการฝึก
P. 54

1. รายละเอียดของการฝึก
หัวข้อที่ 12 การป้องกันตัวเมื่อคนร้ายจี้ด้วยอาวุธปืน
การแก้ปัญหาเมื่อถูกคนร้ายจี้ด้วยอาวุธปืน คือ วิธีการที่เจ้าหน้าที่ตํารวจใช้ในการป้องกันตนเอง เมื่อถูก คนร้ายจี้ หรือจะยิงด้วยอาวุธปืน ทั้งในระยะใกล้และระยะไกล
หลักพื้นฐานการแก้ปัญหาเมื่อถูกคนร้ายจี้ด้วยอาวุธปืน
1. วิธีการแก้ปัญหาเมื่อถูกคนร้ายจี้ด้วยอาวุธปืนนี้ให้ใช้เฉพาะสถานการณ์ที่จําเป็นเท่านั้นเช่นเมื่อถูก คนร้ายจี้ หรือจะยิง ทั้งในระยะใกล้และระยะไกลและสถานการณ์ขณะนั้น บ่งชี้ว่าในทันทีทันใดนั้น คนร้ายจะยิง เจ้าหน้าที่ที่ถูกจี้อย่างแน่นอน จึงให้ใช้ยุทธวิธีนี้ แต่ถ้าหากสามารถต่อรอง หรือยืดระยะเวลา หรือมีวิธีการแก้ไข ปัญหาวิธีอื่น ก็ให้ใช้วิธีการเจรจาต่อรองนั้นก่อน
2. ก่อนที่ใช้ยุทธวิธีนี้ควรพูดจาต่อรองหรือถามคําถามเพื่อให้คนร้ายได้ใช้ความคิดและเป็นการทําลาย สมาธิของคนร้ายในขณะที่จะลั่นไกปืน ซึ่งจะทําให้การตอบสนองต่อเหตุการณ์ของคนร้ายช้าลง และมีผลให้ตัดสินใจ ลั่นไกปืนช้าลงตามไปด้วย
3. ในการฝึกปฏิบัติหากมีการใช้อาวุธปืนจริงก่อนฝึกให้ตรวจอาวุธปืนเช่นเดียวกับการฝึกป้องกันคนร้าย แย่งอาวุธปืน
ยุทธวิธีตํารวจในการแก้ปัญหาเมื่อถูกคนร้ายจี้ด้วยอาวุธปืน
ท่าที่ 1 คนร้ายใช้อาวุธปืนจี้ด้านหน้าในระยะประชิดตัวในระดับเอวหรือหน้าอก
ขั้นตอนที่ 1 เมื่อถูกคนร้ายจี้ด้วยอาวุธปืนทางด้านหน้า ไม่ว่าจะอยู่ในระดับเอวหรือหน้าอก โดยใช้ มือเดียวหรือสองมือก็ตาม ให้ตํารวจยกมือขึ้นในลักษณะยอมแพ้อยู่ระดับที่ใกล้เคียงกับแนวปืน ยืนแยกเท้าห่างกัน ในระยะหัวไหล่ ย่อเข่าเล็กน้อย (รูป 12.1)
ขั้นตอนที่ 2 ใช้มือซ้ายตบจับที่โครงปืนด้านบน ดันปากกระบอกปืนเฉียงออกแนวลําตัว พร้อมกับ ถอยเท้าขวามาด้านหลัง เพื่อให้พ้นวิถีกระสุน แขนเหยียดตึงกดให้แนวลํากล้องปืนลงพื้น (12.2)
ขั้นตอนที่ 3 ใช้มือขวาตบจับใต้ลํากล้องปืน บิดให้ลํากล้องปืนเข้าหาคนร้าย (12.3)
ขั้นตอนที่ 4 บังคับลํากล้องปืนให้ผ่านตัวคนร้ายมาทางด้านซ้ายของตํารวจ ก้าวเท้าซ้ายถอยมา ด้านหลัง แล้วปลดปืนจากมือคนร้าย พร้อมกับถอยหลังออกให้ห่างจากคนร้าย ชักอาวุธปืนประจํากายออกมาจาก ซอง ออกคําสั่งให้คนร้ายนอนคว่ําหน้าลงพื้น (รูป 12.4)
51





















































































   52   53   54   55   56