Page 48 - ประชุมวิชาการ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติฯ
P. 48
46
ผลของนวัตกรรม เคร่ืองกดจุดสะท้อนข้อมือลดความอยากบุหรี่ต่อระดับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ในลมหายใจของผู้ที่สูบบุหรี่
บทคัดย่อ
ไพจิตร พุทธรอด
ความสําคัญ
การสูบบุหรี่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สําคัญส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งควันบุหร่ีมีสารเคมีที่เป็นอันตราย ต่อสุขภาพและมากกว่า 25 ชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง การช่วยให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบจะส่งผลดีท้ังต่อตัว ผู้สูบบุหร่ี และบุคคลรอบข้าง การเลิกบุหร่ีมีหลากหลายวิธีท้ังแบบที่ใช้ยาและไม่ใช้ยา ซึ่งก็ยังมีข้อจํากัด จากการทบทวน วรรณกรรม พบว่า การนวดกดจุดสะท้อนบริเวณข้อมือจากศาสตร์แพทย์แผนจีน สามารถช่วยลดความอยากบุหรี่ ได้ จึงพัฒนานวัตกรรมเคร่ืองกดจุดสะท้อนข้อมือ เพ่ือให้ผู้ที่ต้องการเลิกบุหร่ีสามารถนําไปใช้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ไม่ ต้องเสียเวลาในการเดินทางไปโรงพยาบาลและประหยัดค่าใช้จ่ายด้วย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉล่ียของระดับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจของกลุ่มทดลองก่อนและหลังใช้ นวัตกรรมเครื่องกดจุดสะท้อนข้อมือลดความอยากบุหรี่
2. เพ่ือเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของระดับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม หลังการใช้นวัตกรรมเคร่ืองกดจุดสะท้อนข้อมือลดความอยากบุหรี่
วิธีการศึกษา
กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่มีความต้องการเลิกบุหรี่ท่ีมารับบริการท่ีคลินิกฟ้าใส ในโรงพยาบาลชุมชน 2 แห่ง โดยโรงพยาบาลปะเหลียน เป็นกลุ่มทดลอง จํานวน 16 คน และโรงพยาบาลนาโยง เป็นกลุ่มควบคุม จํานวน 16 คน รวมท้ังสิ้น32คนซ่ึงเก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคมพ.ศ.2566เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล เครื่อง Pico Smokerlyze และนวัตกรรมเคร่ืองกดจุดสะท้อนข้อมือลดความอยากบุหร่ี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ทดสอบที (t-test)
ผลการศึกษา
1. ค่าเฉลี่ยระดับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจภายหลังใช้นวัตกรรมในกลุ่มทดลอง(Mean=12.07,S.D.= 2.37) ต่ํากว่าก่อนการใช้นวัตกรรม (Mean = 18.33, S.D. = 2.22) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ผลต่างของค่าเฉล่ียระดับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจในกลุ่มทดลองหลังใช้นวัตกรรม(Mean=12.07, S.D. = 2.37) ต่ํากว่ากลุ่มควบคุม (Mean = 15.20, S.D. = 2.62) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สรุปและวิจารณ์
42