Page 52 - ประชุมวิชาการ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติฯ
P. 52
50
ผลของโปรแกรมการสื่อสารในครอบครัวต่อการเสพเฮโรอีนด้วยวิธีฉีดของวัยรุ่นผู้ติดเฮโรอีน
บทคัดย่อ
ธารทิพย์ สุภาทิต และสุนิศา สุขตระกูล
ความสําคัญ
การสื่อสารในครอบครัวเป็นปัจจัยสําคัญที่ช่วยสร้างสัมพันธภาพ ความรัก ความอบอุ่นในครอบครัว นําไปสู่อารมณ์ ความรู้สึกท่ีเชื่อมไปสู่พฤติกรรมการเสพติดของวัยรุ่น ซ่ึงถ้าการส่ือสารในครอบครัวเป็นไปใน ทางบวก จะสามารถช่วยลดการเสพเฮโรอีนด้วยวิธีฉีดได้
วัตถุประสงค์
เพ่ือศึกษาผลของโปรแกรมการสื่อสารในครอบครัวต่อการเสพเฮโรอีนด้วยวิธีฉีดของวัยรุ่นผู้ติดเฮโรอีน
วิธีการศึกษา
เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ศึกษาสองกลุ่มแบบวัดซ้ํา กลุ่มตัวอย่าง คือ วัยรุ่นชายเสพติดเฮโรอีนด้วยวิธีฉีด อายุ 18-24 ปี และพ่อหรือแม่ ที่เข้ารับการบําบัด สถาบันบําบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติ บรมราช ชนนี จํานวน 50 ครอบครัว กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมรวม 6 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เคร่ืองมือท่ีใช้ในงานวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการส่ือสารในครอบครัว 2) แบบประเมินปริมาณการเสพเฮโรอีน 3) แบบประเมินการส่ือสารในครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ Wilcoxon signed-rank test และ Mann-Whitney U Test กําหนดนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการศึกษา
วัยรุ่นผู้เสพติดเฮโรอีนด้วยวิธีฉีดที่ได้รับโปรแกรมการส่ือสารในครอบครัว มีการเสพเฮโรอีน ในระยะ ระหว่างการทดลอง และหลังการทดลองลดลงกว่าก่อนการทดลอง และมีการเสพเฮโรอีนลดลงกว่ากลุ่มควบคุมท่ี ได้รับการดูแลตามปกติ ในระยะระหว่างการทดลอง และหลังการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ท่ีระดับ .05
สรุปและวิจารณ์
โปรแกรมการสื่อสารในครอบครัวทําให้การเสพสารเสพติดมีความแตกต่างกันซ่ึงเป็นไปตามสมมติฐาน
ข้อเสนอแนะ
46