Page 19 - 385-67 สถาบันบำบัด P.10
P. 19
ตารางที่ 6 แสดงผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของการวิเคราะห์คุณภาพบันทึกทางการพยาบาลระยะก่อน การพัฒนา หลังการพัฒนา และติดตามผล เป็นรายคู่ (N = 156)
คะแนนเฉลี่ยการวิเคราะห์
คุณภาพบันทกึทาง X̅ SD p-value
การพยาบาล
ก่อนการพัฒนา หลังการพัฒนา ก่อนการพัฒนา ติดตามผล หลังการพัฒนา ติดตามผล
ความแตกต่าง ของค่าเฉล่ีย
28.87 4.84 34.78 4.92 28.87 4.84 34.52 4.13 34.78 4.92 34.52 4.13
5.90 <0.001 5.64 <0.001 .26 0.05
คะแนนเฉลี่ยการวิเคราะห์คุณภาพบันทึกทางการพยาบาลหลังการพัฒนา และติดตามผลมากขึ้นกว่า ก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ .001 และคะแนนเฉลี่ยหลังการพัฒนาและติดตามผลไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ .05
อภิปรายผล
คะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถตนเองของพยาบาลวิชาชีพในการเขียนบันทึกทางการพยาบาล ผู้ป่วยยาเสพติด หลังการพัฒนามากกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ .001 จึงสนับสนุนแนวคิด การพัฒนาบันทึกทางการพยาบาลให้มีคุณภาพ (วิไลรัตน์ จตุสุวรรณศรี, 2546) ซึ่งปัจจัยที่เป็นเหตุให้คะแนน เฉลี่ยหลังการพัฒนามากกว่าก่อนการพัฒนา จากการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพการเขียนบันทึก ทางการพยาบาลผู้ป่วยยาเสพติด ซึ่งภายหลังการอบรมผู้เข้ารับการอบรมได้ให้ข้อคิดเห็นที่แสดงถึงความเข้าใจ ในการเขียนบันทึกทางการพยาบาลมากขึ้น เช่น การอบรมครั้งนี้ทําให้เข้าใจการเขียน Focus Charting มากขึ้น มีแนวทางในการเขียนบันทึกทางการพยาบาล จากเมื่อก่อนไม่ทราบว่าจะเขียนบันทึกทางการพยาบาล อย่างไร เห็นความสําคัญการเขียนบันทึกทางการพยาบาลมากขึ้น มีความมั่นใจในการบันทึกทางการพยาบาล มากขึ้น เห็นช่องทางการเขียนบันทึกทางการพยาบาลที่ชัดเจน เป็นรูปธรรมตามมาตรฐาน ได้เห็นตัวอย่างที่ใช้ อบรมเป็นอย่างดี ท้งั ด้าน Focus และ Assessment ที่ชัดเจนและเขียนได้ตรงประเด็น และง่ายต่อการเขียน ได้มากขึ้น เป็นข้อมูลปฏิบัติจริง ชัดเจน และสอดคล้อง ครอบคลุมปัญหาที่พบ และแนวทางการปฏิบัติ การพยาบาลที่ถูกต้องเหมาะสม ครอบคลุมความต้องการของผู้ป่วย กาย จิต และสังคม อบรมครั้งนี้มีประโยชน์ต่อการ เขียนบันทึกทางการพยาบาลเป็นอย่างยิ่ง เกิดความเข้าใจเชื่อมโยงปัญหา ข้อสนับสนุนการพยาบาล และการ ประเมินผล เกิดความเข้าใจในการเขียนมากขึ้น ซึ่งผลการศึกษาสอดคล้องกับการศึกษาเรื่องการพัฒนา คุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลงานผู้ป่วยในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา (ประภาภรณ์ บุญสม, จินต์จุฑา รอดพาล, พรพิมล ผดุงสงฆ์, สมคิด ตรีราภี และสมทรง บุตรชีวัน, 2555) พบว่าหลังการอบรมกลุ่ม ตัวอย่างมีสมรรถนะการบันทึกทางการพยาบาลเพิ่มขึ้น และการศึกษาการพัฒนาการบันทึกทางการพยาบาล ของกลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลร้อยเอ็ด (วิภาวดี วโรรส, 2550) ภายหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการบันทึก ทางการพยาบาลพบว่าคะแนนความรู้เกี่ยวกับการบันทึกทางการพยาบาลสูงกว่าก่อนการประชุมเชิงปฏิบัติการ
17