Page 19 - หนังสือประชุมวิชาการสถานบำบัดยาเสพติด ครั้งที่ 24
P. 19
การศึกษาความชุกและผลการรักษาภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเสพสารเสพติดโอปิออยด์
ที่บำบัดด้วยเมทาโดนระยะยาว
ฐิติพงศ์ ศิริลักษณ์ และเรวดี เจนร่วมจิต
โรงพยาบาลแม่วาง เชียงใหม่
บทคัดย่อ
ความสำคัญ
ปัญหายาเสพติดเป็นหนึ่งในปัญหาสังคมที่มีผลกระทบรุนแรงในทุกประเทศทั่วโลก สารเสพติด กลุ่มโอปิออยด์
เป็นสารเสพติดที่อันตรายมากที่สุดโดยเฉพาะการเสพเกินขนาด การรักษาผู้เสพสารเสพติดจะบำบัดด้วยการใช้
เมทาโดนระยะยาว ทั้งนี้พบว่า ผู้ป่วยที่ใช้สารเสพติดมักจะมีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วย จากข้อมูลโรงพยาบาลแม่วาง
พบว่า มีผู้ป่วยเสพสารเสพติดโอปิออยด์มีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วย และพบการฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 ราย และเป็น
ปัญหาสำคัญของพื้นที่ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีแนวทางปฏิบัติของประเทศไทยสำหรับประเมินและดูแลรักษาภาวะ
ซึมเศร้าในผู้ป่วยกลุ่มนี้อย่างชัดเจน ดังนั้นการศึกษาเพื่อหาความชุกและผลการรักษาภาวะซึมเศร้าจึงมีความจำเป็น
เพื่อวางแผนในการดูแลภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเสพสารเสพติดโอปิออยด์ที่บำบัดด้วยเมทาโดนระยะยาว
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเสพสารเสพติดโอปิออยด์ที่บำบัดด้วยเมทาโดนระยะยาว
2. เพื่อศึกษาผลของการรักษาภาวะซึมเศร้าด้วยยาต้านซึมเศร้าในผู้ป่วยเสพสารเสพติดโอปิออยด์ที่บำบัด
ด้วยเมทาโดนระยะยาว
3. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเสพสารเสพติดโอปิออยด์ที่บำบัดด้วยเมทาโดนระยะยาว
วิธีการศึกษา
รูปแบบวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับการบำบัดรักษา การติดยา
เสพติด ณ คลินิกเมทาโดนระยะยาว โรงพยาบาลแม่วาง ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
ซึ่งได้รับการประเมินภาวะซึมเศร้า PHQ-9 รวมทั้งบันทึกข้อมูลการได้รับเมทาโดน ยาต้านซึมเศร้า ประวัติการใช้สารเสพติด
เก็บข้อมูลปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเสพสารเสพติดโอปิออยด์ที่บำบัดด้วยเมทาโดนระยะยาว วิเคราะห์ข้อมูล
ด้วยสถิติเชิงพรรณนา หาค่าความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้เสพสารเสพติดโอปิออยด์ที่บำบัดด้วยเมทาโดนระยะยาว
ใช้สถิติ Logistic regression analysis ในการวิเคราะห์แบบหลายปัจจัยเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยของ
ผู้ป่วยเสพสารเสพติดโอปิออยด์ที่บำบัดด้วยเมทาโดนระยะยาวกับภาวะซึมเศร้า
ผลการศึกษา
ผู้ที่บำบัดจำนวน 204 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 94.1 อายุเฉลี่ย 38.9 ปี สารเสพติดส่วนใหญ่เป็น
เฮโรอีน ร้อยละ 93.1 ฝิ่นร้อยละ 6.9 พบความชุกของภาวะซึมเศร้าจำนวน 29 ราย คิดเป็นร้อยละ 14.2
ส่วนใหญ่มีภาวะซึมเศร้าระดับน้อย ร้อยละ 82.76 ผลของการรักษาภาวะซึมเศร้าด้วยยาต้านซึมเศร้า พบว่า สามารถ
ลดภาวะซึมเศร้าจากการประเมิน PHQ-9 จาก 10.69 ± 3.44 คะแนน ลดลงเป็น 1.62 ± 3.54 คะแนน อย่างมี
17
17