Page 23 - หนังสือประชุมวิชาการสถานบำบัดยาเสพติด ครั้งที่ 24
P. 23

นาคาล้อมรักษ์โมเดล
ทิพวรรณ คิตเสน
โรงพยาบาลโซ่พิสัย
บทคัดย่อ
ความสำคัญ
สถานการณ์ยาเสพติดของอำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ มีการแพร่ระบาดจำนวนมากของยาบ้า เนื่องจาก
เป็นจังหวัดที่ติดแถบลุ่มแม่น้ำโขงที่ใช้เป็นเส้นทางลำเลียงยาเสพติด จากรายงานการจับกุมทั้งผู้ค้าและผู้เสพ
เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2566 ผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการบำบัดรักษาฟื้นฟูในโรงพยาบาลโซ่พิสัย จำนวน
582 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยสีแดง (OAS =3) จำนวน 86 ราย คิดเป็นร้อยละ 14.77 และด้วยข้อจำกัด
ของโรงพยาบาลส่งผลให้การดูแลผู้ป่วยกลุ่มสีแดงไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วยและญาติ ทำให้เกิดความ
รุนแรงในผู้ป่วยจิตเวชจากยาเสพติดในชุมชนเพิ่มมากขึ้น เกิดความสูญเสียแก่ชีวิตจำนวน 4 ราย สูญเสียทรัพย์สิน
เกิดความหวาดกลัวแก่ครอบครัว ชุมชนและสังคม โรงพยาบาลโซ่พิสัยตระหนักถึงความสำคัญ ที่จะต้องได้รับ
การแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน จึงได้พัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยจิตเวชจากยาเสพติดที่มีพฤติกรรมรุนแรงในชุมชน
อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ (นาคาล้อมรักษ์โมเดล) เพื่อส่งต่อรักษาในสถานพยาบาล อย่างทันท่วงที มีมาตรฐาน
ปลอดภัย เพียงพอกับความต้องการของผู้ป่วยและญาติ พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่และประชาชนมีความปลอดภัยมากขึ้น
วัตถุประสงค์
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชจากยาเสพติดที่มีพฤติกรรมรุนแรงในชุมชน แบบมีส่วนร่วม
ของภาคีเครือข่าย ขับเคลื่อนผ่าน พชอ. เกิดความยั่งยืน และเป็นต้นแบบการนำไปปรับใช้กับพื้นที่อื่น
วิธีการศึกษา
1. จัดตั้งคณะดำเนินงาน การรายงานปัญหาชุมชน วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาจิตเวชยาเสพติด
2. กำหนดบทบาท หน้าที่ การดูแลและความรับผิดชอบให้ทราบอย่างชัดเจนทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้อง
ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธรณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ภาครัฐและ
ภาคประชาชนของอำเภอโซ่พิสัย
3. อบรมพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา เจ้าหน้าที่กองร้อยอาสารักษา
ดินแดน ชุดรักษาความปลอดภัยของหมู่บ้าน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ฝ่ายรักษาความสงบ และ
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
4. จัดทำแนวทางการดูแลผู้ป่วยจิตเวชจากยาเสพติดที่มีพฤติกรรมรุนแรงในชุมชน (สีแดง) ให้ได้รับการ
เข้าถึงบริการ การรักษา วินิจฉัยและส่งต่ออย่างมีคุณภาพได้มาตรฐาน แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ Pre-Hospital,
In–Hospital และ Post–Hospital ใช้ระยะเวลาการบำบัดด้วยยา 7-14 วัน และวางแผนจำหน่ายหรือส่งต่อตาม
Patient journey อำเภอโซ่พิสัย
21
21



































































   21   22   23   24   25