Page 34 - หนังสือประชุมวิชาการสถานบำบัดยาเสพติด ครั้งที่ 24
P. 34

บทคัดย่อ
ความสำคัญ
และยาเสพติดผ่าน Application Sakhrai Hoscare
วัตถุประสงค์
อย่างต่อเนื่อง ป้องกันไม่ให้อาการกำเริบรุนแรง
32 32
การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดผ่าน Application Sakhrai Hoscare
อลงกฏ ดอนละ, วรรัตน์ สุขม่วง, ณพัทธ์พล โชติวัฒนปรีชากุล,
ชัยพัฒน์ อักษร, รัตญา โสตาราช และปริชญา จันทกุล
โรงพยาบาลสระใคร
ผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด อำเภอสระใครในปี พ.ศ. 2564 มีความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง 1 ใน 3
ของผู้ป่วยจิตเวชในอำเภอสระใคร เนื่องจากไม่มารับยาตามนัด การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการดูแลผู้ป่วย
ในชุมชนยังน้อย ไม่มีระบบเชื่อมโยงฐานข้อมูลการรักษาและติดตามผู้ป่วยในชุมชน ไม่ทราบพิกัดบ้านผู้ป่วย
ยากต่อการเข้าถึง กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลสระใคร จึงพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวช
1. เพื่อพัฒนาระบบการติดตามผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีความเสี่ยงให้ได้รับการดูแลรักษา
2. เพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยจิตเวชจากยาเสพติด และผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต
และยาเสพติดในชุมชน
3. เพื่อสร้างวัฒนธรรมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชจากยาเสพติด และผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและยาเสพติด
ให้เป็นไปตามมาตรฐาน สะดวก รวดเร็ว
วิธีการศึกษา
กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด จากทะเบียนผู้ป่วยจิตเวชโรงพยาบาลสระใครตั้งแต่
พ.ศ.2564-2567 โดยออกแบบร่วมกับทีม IT นำระบบ สารสนเทศเข้ามาช่วยในการตรวจสอบข้อมูล
การตรวจรักษา การขาดการรักษา การติดตาม การแจ้งเตือนนัด การแจ้งเตือนฉุกเฉินและการส่งต่อประจำปี
โดยสร้างแอพพลิเคชั่น Sakhrai Hoscare ตามวงจรการพัฒนาระบบ Software Development Life Cycle
(SDLC) มี 7 ขั้นตอน
ผลการศึกษา
1. การติดตามผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีความเสี่ยงให้ได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ป้องกันไม่ให้
อาการกำเริบรุนแรงมากกว่าร้อยละ 80
2. ผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดรับยาต่อเนื่องมากกว่าร้อยละ 70
3. ผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดฉุกเฉินส่งต่อน้อยกว่าร้อยละ 10





































































   32   33   34   35   36