Page 44 - หนังสือประชุมวิชาการสถานบำบัดยาเสพติด ครั้งที่ 24
P. 44

บทคัดย่อ
ความสำคัญ
เกี่ยวข้องและไปใช้ยาเสพติดได้
วัตถุประสงค์
วิธีการศึกษา
42 42
ผลของโปรแกรมการสื่อสารในครอบครัวต่อการเสพเฮโรอีนด้วยวิธีฉีดของวัยรุ่นผู้ติดเฮโรอีน
ธารทิพย์ สุภาทิต และสุนิศา สุขตระกูล
สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี
การสื่อสารในครอบครัวมีทั้งทางบวกและทางลบ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสร้างสัมพันธภาพ ความรัก
ความอบอุ่นในครอบครัว เป็นเกาะป้องกันให้วัยรุ่นห่างไกลจากยาเสพติด หรืออาจเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้วัยรุ่นไป
เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสื่อสารในครอบครัวต่อการเสพเฮโรอีนด้วยวิธีฉีดของวัยรุ่นผู้ติดเฮโรอีน
เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ศึกษาสองกลุ่มแบบวัดซ้ำ กลุ่มตัวอย่าง คือ วัยรุ่นชายเสพติดเฮโรอีนด้วยวิธีฉีด
อายุ 18-24 ปี และพ่อหรือแม่ ที่เข้ารับการบำบัด สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี
จำนวน 50 ครอบครัว กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมรวม 6 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ
เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการสื่อสารในครอบครัว 2) แบบประเมินปริมาณการเสพเฮโรอีน
3) แบบประเมินการสื่อสารในครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ Wilcoxon signed-rank test และ
Mann-Whitney U Test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการศึกษา
วัยรุ่นผู้เสพติดเฮโรอีนด้วยวิธีฉีดที่ได้รับโปรแกรมการสื่อสารในครอบครัว มีการเสพเฮโรอีน ในระยะ
ระหว่างการทดลอง และหลังการทดลองลดลงกว่าก่อนการทดลอง และมีการเสพเฮโรอีนลดลงกว่ากลุ่มควบคุม
ที่ได้รับการดูแลตามปกติ ในระยะระหว่างการทดลอง และหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
สรุปและวิจารณ์
โปรแกรมการสื่อสารในครอบครัวทำให้การเสพสารเสพติดมีความแตกต่างกันซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน
ข้อเสนอแนะ
ควรมีการศึกษาวิจัยในผู้ป่วยกลุ่มที่ติดยาเสพติดประเภทอื่น ๆ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการวิจัย
และควรจัดกิจกรรมเป็นกลุ่มโดยนำลูกวัยรุ่นเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเพื่อเป็นการส่งเสริมการสื่อสาร
แบบสองทาง







































































   42   43   44   45   46