Page 47 - หนังสือประชุมวิชาการสถานบำบัดยาเสพติด ครั้งที่ 24
P. 47

ผลของกิจกรรมบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาและสารเสพติดระยะกลางต่อผู้ป่วยยาเสพติด
เพื่อป้องกันการกลับไปเสพซ้ำ โรงพยาบาลไชโย จังหวัดอ่างทอง
นภัสกมลฉัตร ประเสริฐศรี, ภาคภูมิ อินทรประดิษฐ์,
ประเวศ สังข์วงษ์ และเกษสุดาพร แป้นทอง
โรงพยาบาลไชโย
บทคัดย่อ
ความสำคัญ
ยาเสพติดเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลก ปี พ.ศ. 2564 พบว่า เพศชายช่วงอายุ 15-64 ปี
มีการใช้ยาเสพติดซึ่งเทียบได้กับจำนวน 1 ใน ทุก ๆ 17 คน ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2565 พบปัญหาการใช้
ยาเสพติดเพิ่มมากขึ้นเป็น 1.9 ล้านคน แต่มีการเข้ารับการบำบัดเพียง 127,425 คน จากพระราชบัญญัติ
ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ถือว่า “ผู้เสพ ผู้ติด คือ ผู้ป่วย” ปี พ.ศ. 2567 มินิธัญญารักษ์
หนึ่งในนโยบายเร่งด่วน 13 ด้าน Quick Win 100 วัน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเปรียบเทียบความรู้ด้านยาเสพติดก่อนและหลังได้รับกิจกรรมบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ
ผู้ติดยาและสารเสพติดระยะกลาง
2. เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติด้านยาเสพติดก่อนและหลังได้รับกิจกรรมบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ
ผู้ติดยาและสารเสพติดระยะกลาง
3. เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมด้านยาเสพติดก่อนและหลังได้รับกิจกรรมบำบัดรักษาและฟื้นฟู
สมรรถภาพผู้ติดยาและสารเสพติดระยะกลาง
วิธีการศึกษา
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบทดลองเบื้องต้น กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยยาเสพติดที่มาบำบัด
ในมินิธัญญารักษ์และผู้ป่วยนอกแผนกยาเสพติดโรงพยาบาลไชโย การเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบ
เฉพาะเจาะจง จำนวน 30 คน ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัยระหว่าง วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2567
ถึง วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป แบบ ประเมินความรู้
แบบประเมินทัศนคติ และแบบประเมินพฤติกรรมด้านยาเสพติด วิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบ จำนวน ร้อยละ
ค่าเฉลี่ย และสถิติอนุมาน ได้แก่ Paired samples t-test
ผลการศึกษา
คะแนนเฉลี่ยความรู้ด้านยาเสพติดหลังได้รับกิจกรรมสูงกว่าก่อนได้รับกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
45
45





































































   45   46   47   48   49