Page 66 - หนังสือประชุมวิชาการสถานบำบัดยาเสพติด ครั้งที่ 24
P. 66

บุคคลผู้มีผลงานยอดเยี่ยม
บุคคลที่มีผลงานด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
แพทย์หญิงณัฏฐ์วรัตถ์ อเนกวิทย์
ตำแหน่ง นายแพทย์เชี่ยวชาญ
กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลมหาสารคาม
สรุปผลงานที่สำคัญ
64 64
การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานจิตเวชและสารเสพติดที่ครอบคลุมการดูแลผู้ป่วยทุกมิติในจังหวัด
มหาสารคาม ในชื่อเรียก “ตักสิลาโมเดล” เป็นระบบการให้บริการผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดแบบไร้รอยต่อ
ภายใต้ความร่วมมือของภาคีเครือข่ายภายในจังหวัด โดยการส่งเสริมให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้ร่วมกันพัฒนางาน
เพื่อการส่งเสริม ป้องกัน บำบัดรักษา และฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด ให้ได้รับการค้นหา การคัดกรองและ
ประเมิน การรักษาพยาบาล การรับและส่งต่อข้อมูลในแต่ละระดับ รวมถึงการดูแลช่วยเหลือในมิติต่างๆ อย่างรอบ
ด้าน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดผ่านกลไกของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพ
ชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และการพัฒนาแนวทางการประเมินระดับอาการของโรค (CGI-S) เพื่อช่วยให้โรงพยาบาล
ชุมชนสามารถจัดลำดับความเร่งด่วนในการให้การดูแลรักษาและส่งต่อผู้ป่วยตามระดับความรุนแรง รวมถึง
การพัฒนาแนวทางการประเมินความบกพร่อง หรือข้อจำกัดของผู้ป่วยในด้านต่างๆ ที่อาจส่งผลรบกวน ในการเข้า
รับการบำบัดรักษาเพื่อลดอัตราการ Drop out นอกจากนี้ยังรวมถึงการพัฒนาระบบการรับและส่งต่อผู้ป่วยภายใน
และภายนอกจังหวัดผ่านกลไกคณะกรรมการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัด (ศอ.ปส.จ.)
เพื่อสร้างเครือข่ายการดำเนินงานการส่งเสริม ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด รวมทั้งการติดตามผ ล
การดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
ผลการดำเนินงาน
รูปแบบการดำเนินงาน “ตักสิลาโมเดล” ได้รับการขยายผลจากอำเภอนำร่องสู่ทุกอำเภอในระดับจังหวัด
และได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายหลายภาคส่วน ครอบคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัด ทำให้ผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพ
ติดในจังหวัดเข้าถึงบริการเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำนวนของผู้ใช้ ผู้เสพที่บำบัดครบตามเกณฑ์ของแต่ละระบบ
หยุดเสพต่อเนื่องหลังจำหน่ายจากการบำบัด 3 เดือนมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้การคัดกรองและการประเมิน
ความบกพร่องหรือข้อจำกัดอย่างรอบด้าน ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลช่วยเหลือในมิติต่างๆ ได้เพิ่มมากขึ้น ส่งผล
ให้อัตราการ Drop out มีจำนวนลดน้อยลง และจากความร่วมมือในการดำเนินงานของภาคส่วนต่างๆ ทำให้
จำนวนกลุ่มเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V) ในระดับจังหวัดลดลงได้ตามเป้าหมายที่วางไว้







































































   64   65   66   67   68