Page 78 - หนังสือประชุมวิชาการสถานบำบัดยาเสพติด ครั้งที่ 24
P. 78
สรุปผลงานที่สำคัญ
1. จัดตั้งคณะทำงานการบำบัดฟื้นฟู เป็น 6 คุ้มบ้าน
ต่างๆ และประชาชน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
76 76
ชุมชน/หมู่บ้านมีผลงานยอดเยี่ยม
ประเภทชุมชน/หมู่บ้านที่มีผลงานด้านการดูแลช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติด
บ้านสกัดน้ำมันใต้ ตำบลปากจั่น อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
การบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติด โดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง (CBTx) และการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด
(Harm Reduction) ณ ชุมชนบ้านสกัดน้ำมันใต้ ดำเนินงาน ดังนี้
2. การสืบสภาพชุมชน : เพื่อสำรวจปัญหายาเสพติดในพื้นที่
3. การประกาศวาระหมู่บ้าน : จัดการประชาคมและลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันระหว่างหน่วยงาน
4. การค้นหาผู้เกี่ยวข้อง : รับแจ้งเบาะแสจากประชาชน และทำความเข้าใจกับผู้ปกครองและญาติ
เพื่อชักจูงให้ผู้เสพและผู้ค้านำเข้าสู่กระบวนการบำบัด พร้อมทั้งลงพื้นที่ตรวจสารเสพติด (X-ray)
5. การคัดแยกผู้เกี่ยวข้อง : แบ่งเป็นผู้ค้าและผู้เสพ ผู้ค้าจะถูกดำเนินคดีอย่างเด็ดขาด ส่วนผู้เสพ
จะได้รับการบำบัดตามระดับความรุนแรง และการบำบัดในชุมชน (CBTx)
6. การดูแลผู้เสพในชุมชน : รพ.สต.ปากจั่น อสม. และหน่วยงานอื่น ๆ นัดพบผู้เสพทุกเช้าวันอาทิตย์
เพื่อตรวจสุขภาพและสนับสนุนด้านจิตใจ ผู้ที่มีผลตรวจปัสสาวะเป็นลบต่อเนื่อง 16 สัปดาห์จะถือว่าผ่านการบำบัด
7. การรับรองครัวเรือนปลอดยาเสพติด : หลังการตรวจสารเสพติด หากบ้านใดไม่มีผู้เสพจะได้รับการ
รับรองเป็นครัวเรือนปลอดยาเสพติด ผู้ที่ผ่านการบำบัดจะได้รับเกียรติบัตรจาก ศป.ปส.อ.นครหลวง
8. การใช้มาตรการทางสังคม : การใช้มาตรการสังคมเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไข
ปัญหายาเสพติด
9. การรักษาความปลอดภัยในชุมชน : ประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจ ปปส. ฝ่ายปกครอง และ
ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านอย่างสม่ำเสมอ
ผลงานอื่น ๆ ด้านป้องกัน : โครงการ “บ้านหลังเลิกเรียน” เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีกิจกรรมหลังเลิกเรียน
ที่เป็นประโยชน์และอยู่ในความดูแลของผู้ใหญ่ โดยมีครูและจิตอาสาช่วยสอนการบ้านและพัฒนาความเป็นผู้นำ
สร้างรายได้และความสามารถพิเศษ ทำให้เด็กและเยาวชนมีพื้นที่ปลอดภัย ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
ผลการดำเนินงาน
ด้านปริมาณ : ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562-2566 ผู้มีปัญหาการใช้เสพติดได้รับการดูแลช่วยเหลือ
อย่างต่อเนื่อง จำนวน 25, 22, 17, 18 และ 15 คน ตามลำดับ สามารถเลิกใช้ยาเสพติดได้ จำนวน 5, 6, 4, 7
และ 4 คน ตามลำดับ ผู้ที่มีปัญหาใช้ยาเสพติดได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องเพื่อลด ละ เลิกยาเสพติด และสนับสนุน
การประกอบอาชีพ
ด้านคุณภาพ
1. คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดร่วมกันดูแลผู้ป่วย
2. ชุมชนมีทัศนคติที่ดีขึ้นต่อผู้ใช้ยาเสพติด