Page 14 - ทัศนศิลป์ ม 4-6
P. 14
7. นํ้าหนัก (Tone) ในการสร้างสรรค์ศิลปะโดยเฉพาะทางจิตรกรรม หมายถึง ค่าของสี คือความ อ่อน-แก่ หรือมืด-สว่าง ของภาพ ซึ่งอาจแยกอย่างกว้าง ๆ ได้ 3 ค่า คือ ค่าสีอ่อน ค่าสีีกลาง ค่าสีแก่ แต่หากจะให้ละเอียดมากขึ้นจะแบ่งเป็น 3, 7, 9 ถึง 12 ค่า เรียกค่าอ่อน-แก่ของสีนี้ว่า Chiaroscuro (คีอาร์รัสคิวโร) ค่าของสีีหรือนํา้าหนักอ่อน-แก่ของสีจะช่วยให้ภาพเกิดความรู้สึกในระยะตื้น-ลึก ใกล้-ไกล
การแบ่งความแก่-อ่อนของสีแบบ 7 ค่า
8. พื้นผิว (Texture) หมายถึง สิ่งที่เห็นด้วยตาและสามารถใช้กายสัมผัส ทําาให้เกิดความรู้สึกต่อ ผลงานศิลปะ เช่น การเขียนภาพสีนํา้าบนแผ่นกระดาษผิวเรียบหรือผิวหยาบ การสร้างประติมากรรมโลหะ ผิวขัดมัน หรือผิวหินสลัก ในการสร้างสรรค์งานศิลปะจะต้องคําานึงถึงเรื่องของพื้นผิวให้เข้ากับเนื้อหา หรือเรื่องราวที่จะแสดงออกตามลักษณะความแตกต่าง เช่น ผิวเรียบเป็นมันของหินอ่อน ผิวขรุขระ ของก้อนหิน
‘แดนทิพย์’ ชําเรือง วิเชียรเขตต์, หล่อทองเหลืองผสมทองแดงรมดํา ‘จิตรกรรมหมายเลข 6’ ธงชัย รักปทุม, เทคนิคผสม, 2511 เมื่อมองแล้วรู้สึกถึงพื้นผิวเรียบ เป็นมัน เมื่อมองแล้วรู้สึึกถึงพื้นผิวที่แตกต่างกัน
องค์์ประกอบศิิลป์์ (Composition)
องค์ประกอบศิลป์ เป็นทฤษฎีแห่งองค์ประกอบ หรือกฎเกณฑ์ของเอกภาพ เป็นกฎเกณฑ์เพื่อ การประกอบกัน การจัดระเบียบ หรือการประสานกันของทัศนธาตุ เป็นสิ่งใหม่ที่มีความหมายในตัวเอง ซึ่งประกอบด้วย เอกภาพ ความสมดุลหรือดุลยภาพ และสัดส่วน
12
ทัศนศิลป์ ม.4-6