Page 14 - ภูมิศาสตร์ ม 4-6
P. 14
1) เส้นขอบระวางเป็นเส้นที่แบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วนคือพื้นที่ภายในขอบระวางและ พื้นที่ภายนอกขอบระวางของแผนที่ โดยที่เส้นขอบระวางแต่ละด้านมีตัวเลขบอกค่าพิกัดภูมิศาสตร์
2) องค์ประกอบภายนอกขอบระวางได้แก่
(1) มาตราส่วนแผนที่ (map scale) บอกให้ทราบรายละเอียดว่าแผนที่นั้น
ย่อจากพื้นที่จริงด้วยอัตราส่วนเท่าใด เช่น 1 : 50,000 หมายถึง ระยะ 1 ส่วนในแผนที่เท่ากับระยะ 50,000 ส่วนในพื้นที่จริง
(2) คําาอธิบายสัญลักษณ์ (legend) แสดงตัวอย่างสัญลักษณ์ที่ใช้บอกรายละเอียด ในแผนที่นั้น พร้อมระบุคําาอธิบายความหมายของสัญลักษณ์นั้น ๆ เช่น ตัวอย่างและคําาอธิบายสัญลักษณ์ ของแม่นํา้า ถนน ที่ตั้งเมืองหลวง
(3) ศัพทานุกรม (glossary) ระบุไว้เพื่ออธิบายคําาศัพท์ในแผนที่เป็นภาษาสากล เพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจความหมายของศัพท์ที่มีในแผนที่
(4) สารบัญ (index) เป็นแผนภาพต่าง ๆ แสดงไว้ภายนอกขอบระวางแผนที่ เพื่อแสดงข้อมูลบางอย่างที่อาจมีความจําาเป็นต่อผู้ใช้ ได้แก่
สารบัญระวางติดต่อ (index to adjoining sheet) แสดงให้ทราบว่า โดยรอบแผนที่ระวางที่ใช้อยู่มีระวางใดบ้าง เพื่อสะดวกต่อการค้นหา
สารบัญเขตการปกครอง (index to boundaries) แสดงให้ทราบว่าพื้นที่ ส่วนใดในแผนที่ระวางนั้นอยู่ในเขตการปกครองใดบ้าง
บันทึก (notes) เป็นข้อความบอกข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับแผนที่ที่ผู้ผลิตเห็นว่า ผู้ใช้ควรทราบ เช่น บันทึกเกี่ยวกับเส้นโครงแผนที่
แผนภาพแสดงค่ามุมบ่ายเบน (declination diagrams) เป็นแผนภาพ ที่ให้ข้อมูลค่ามุมบ่ายเบนของแนวทิศเหนือจริง ทิศเหนือแม่เหล็ก และทิศเหนือกริด
3) องค์ประกอบภายในขอบระวางได้แก่
(1) สัญลักษณ์ (symbol) คือ เครื่องหมายที่ใช้แทนรายละเอียดที่ปรากฏบนผิวโลก
เช่น สัญลักษณ์ที่ใช้แทนลักษณะทางกายภาพ ลักษณะทางวัฒนธรรม
(2) สี (colour) สที ใี่ ชใ้ นขอบระวางแผนทเี่ ปน็ สขี องสญั ลกั ษณท์ ใี่ ชแ้ ทนรายละเอยี ด
หรือข้อมูลของแผนที่
(3) ชื่อภูมิศาสตร์ (geographic name) เป็นตัวอักษรเพ่ือบอกช่ือสถานท่ีหรือ ชื่อของส่ิงนั้น ๆ
(4) ระบบอ้างอิงการกําาหนดตําาแหน่ง (position reference systemes) เป็นตาราง ท่ีแสดงไว้ในขอบระวางแผนที่เพื่อกําาหนดค่าพิกัดของตําาแหน่งต่าง ๆ ในแผนท่ีระวางน้ัน โดยทั่วไปคือ พิกัดภูมิศาสตร์ (geographic coordinates) ซึ่งบอกตําาแหน่งบนพื้นโลกด้วยการอ้างอิงค่าระยะเชิงมุม ของละติจูด (latitude) และลองจิจูด (longitude)
12 ภูมิศาสตร์ ม.4-6