Page 40 - ศิลปะ ป 3
P. 40
ในการปฏิบัตินาฏศิลป์ นักเรียนจะต้องเรียนรู้เร่ืองของนาฏยศัพท์ และภาษาท่าให้เกิดการเรียนรู้จนเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้ ทาให้ การแสดงนาฏศิลป์ออกมาถูกต้องตามหลักวิชา ทาให้เกิดความสวยงาม และสื่อความหมายให้ผู้ชมได้เข้าใจและรับรู้อารมณ์ของการแสดง จนเกิดความรู้สึกคล้อยตามไปกับการแสดง
๑. นาฏยศัพท์
การฝึกนาฏยศัพท์ในส่วนขา
นาฏยศัพท์ หมายถึง คาศัพท์ท่ีใช้เฉพาะในวงการนาฏศิลป์ เป็นชื่อ ในการปฏิบัติท่ารา ใช้สื่อความหมายให้เข้าใจตรงกันในการแสดง โดยใช้ ท่าราบอกลักษณะ เช่น จีบคว่า จีบหงาย วงบน วงกลาง วงล่าง กระทุ้งเท้า กระดกเท้า ก้าวไขว้ ก้าวข้าง ทาให้การแสดงมีความสมบูรณ์แบบ สวยงามตามหลักการทางนาฏศิลป์
การฝึกนาฏศิลป์ในส่วนขา เป็นกิริยาท่าราของเท้าและขาผสมกัน ซึ่งต้องใช้ลาตัวและส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้สัมพันธ์กันด้วย จึงจะเกิด ความสวยงาม และสามารถเคลื่อนไหวร่างกายประกอบท่าราได้อย่าง ถูกต้อง สวยงามตามจังหวะและอารมณ์เพลงประกอบการแสดง
๑. กระทุ้งเท้า คือ อาการของเท้าท่ีวางอยู่ข้างหลัง กระทุ้งเพ่ือยกขึ้น โดยใช้ส่วนของจมูกเท้าที่วางอยู่กับพื้น ส้นเท้าเปิด (อาการของการ กระทุ้งเท้าจะใช้เท้าข้างใดก็ได้) กระแทกจมูกเท้าเบา ๆ แล้วยกเท้าขึ้น
๒. กระดกเท้า คือ อาการยกเท้าไปข้างหลัง กระดกเป็นท่าสืบเน่ือง มาจากการกระทุ้ง แล้วยกเท้าขึ้นข้างหลัง ข้อสาคัญในการกระดกเท้า คือ ต้องดันเข่าไปข้างหลังมาก ๆ และหนีบน่องจึงจะสวยงาม
148 ศิลปะ ป.๓