Page 247 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 247
229
เกิดดับในลักษณะอย่างไร
เพื่อให้ละเอียดมากยิ่งขึ้นไปกว่านั้น นอกจากพิจารณารู้ถึงความ
เป็นคนละส่วน ระหว่างเวทนากับจิตที่ทาหน้าที่รู้แล้ว ให้สังเกต “การ เปลี่ยนแปลงของเวทนาหรืออาการเกิดดับของเวทนา” ว่าเกิดดับในลักษณะ อย่างไร และให้สังเกตด้วยว่าแม้จิตที่ทาหน้าที่รับรู้เวทนาเอง เมื่อเวทนา มีอาการดับไปแต่ละขณะ ดับไปแต่ละขณะ “จิตที่เข้าไปรู้ดับด้วยหรือไม่” การที่เราจะเห็นว่าจิตดับด้วยหรือไม่ จิตจะต้องอยู่ที่เดียวกับอาการเกิดดับ ของเวทนา ไม่ใช่อยู่ที่เดียวกับความปวดนะ ลองสังเกตดูดี ๆ
ถ้าเราสังเกตดี ๆ จะเห็นว่าความปวดเป็นอย่างหนึ่ง อาการเกิดดับที่ เกิดอยู่ในความปวดก็จะเป็นอีกอย่างหนึ่ง จะแยกส่วนกัน ถ้าเราไปรู้ว่าปวด เขาก็จะปวดมาก แต่ถ้าไปรู้อาการเกิดดับเมื่อไหร่ ความปวดไม่สามารถบีบ คั้นจิตใจเราได้ เพราะเห็นอาการเกิดดับอยู่เนือง ๆ เพราะฉะนั้น นักปฏิบัติ ทุกคน เวลามีเวทนาเกิดขึ้น แล้วถ้าเราจะสู้กับเวทนา จงใช้ปัญญาพิจารณา รู้ถึงการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของเวทนา อย่าใช้แค่กาลังอย่างเดียว
การใช้กาลังอย่างเดียว จะเอาชนะเวทนาอย่างเดียว โดยไม่พิจารณา อาการเกิดดับของเวทนา ก็จะทาให้มีตัวตนเกิดขึ้น มีความเป็นเราเกิดขึ้น อยากเอาชนะ เมื่ออยากเอาชนะ เวทนาก็จะมีความแก่กล้า ทาไมถึงแก่กล้า ? เพราะว่าเราเริ่มเกร็ง เริ่มเพ่ง เริ่มจ้อง รูปเริ่มเกร็ง เวทนาก็ยิ่งมีกาลัง แต่ถ้า เราพิจารณาอาการเกิดดับของเวทนา อาการเกร็งทางรูปก็น้อยลง ยิ่งเห็นจิต ดับไปพร้อมกับเวทนาในแต่ละขณะ แต่ละขณะ จิตจะยิ่งผ่องใส และเวทนา ความปวดความทรมานก็จะน้อยลง เราอาศัยเวทนาไปสู่เป้าหมายการปฏิบัติ ของเราได้
และอีกอย่างหนึ่ง คาว่า “ดูเวทนาในเวทนา” หรือ “ตามรู้อาการเวทนา” คือรู้อาการพระไตรลักษณ์ เราจะเห็นความไม่เที่ยง เห็นสัจธรรมที่เป็นจริง ธรรมชาติของขันธ์ทั้ง ๕ ว่าเป็นไปในลักษณะอย่างไร ถ้าเรากาหนดรู้แบบนี้