Page 6 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม-การพิจารณาสภาวธรรม
P. 6
314
เพราะถ้ารูปตั้งอยู่ในที่ว่างได้ ขณะนั้นจะไม่มีความรู้สึกว่าเป็นเรา แค่เห็นว่าเป็นรูปที่ตั้งอยู่ในที่ วา่ ง ๆ เทา่ นนั้ เพราะนนั้ ถา้ ไมม่ ตี วั ตนไมม่ เี รา รปู กจ็ ะรสู้ กึ เบา เปน็ ความเบาทเี่ กดิ จากการคลายจากอปุ าทาน ไม่มีเขาไม่มีเรา มีแต่รูปที่ตั้งอยู่ในที่ว่าง ๆ และรูปนี้อาจจะบาง ๆ จาง ๆ หรือมีแค่จุดกระทบที่ปรากฏ ขึ้นมาในที่ว่าง ๆ ถ้ารูปมีลักษณะบาง ๆ จาง ๆ แต่มีจุดกระทบเด่นชัดที่สุด ก็กาหนดจุดกระทบนั้นแหละ เอาความรู้สึกเข้าไปกาหนดรู้ถึงจุดกระทบที่ปรากฏอยู่ในที่ว่าง ๆ เข้าไปแต่ละขณะเขาดับอย่างไร อันนี้ จุดหนึ่งที่พึงสังเกตพิจารณา
แต่ถ้าใครยกจิตขึ้นสู่ความว่างแล้ว อาการของลมหายใจมีความชัดเจนมากที่สุด แม้อาการของรูป ไม่ชัด แต่รู้สึกชัดถึงอาการของลมหายใจเข้า-ออกอย่างเดียว การที่รู้ชัดถึงอาการของลมหายใจเข้า-ออก ไม่ใช่เฉพาะแค่ปลายจมูก คาว่า “ลมหายใจเข้า-ออก” หมายถึงว่าทั้งหายใจเข้า-หายใจออกจนสุดไป สิ้นสุด จุดไหนก็รู้ชัดถึงจุดนั้น ลมหายใจเข้าสิ้นสุดจุดไหน-ก็ตามรู้ไปจนสิ้นสุดถึงจุดนั้น ลมหายใจออกสิ้นสุดถึง จุดไหน-ก็รู้ถึงจุดนั้นไป นี่คือการสังเกตอาการของลมหายใจ แล้วสังเกตว่าเขามีการเปลี่ยนแปลงหรือเกิด ดับอย่างไร พิจารณาในลักษณะอย่างนี้ รู้การเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป แต่ถ้ายกจิตขึ้นสู่ความว่างแล้วมีอาการ เต้นของหัวใจปรากฏ ก็กาหนดอาการเต้นของหัวใจไป นั่นคือสภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ปัจจุบัน
แต่ถ้ามีความคิดเยอะแยะมากมายเกิดขึ้นมา ลองสังเกตดูว่า จิตว่างหรือไม่ว่าง ? เมื่อมีความคิด ขึ้นมามีความกังวลขึ้นมา ลองพิจารณาดูดี ๆ ว่า จิตเราว่างหรือไม่ว่าง ยกจิตขึ้นสู่ความว่างได้ไหม หรือ มีตัวตนอยู่ ? ถ้าจิตแคบลง รู้แต่ว่ามีความคิดต่าง ๆ เข้ามามากมาย ทีนี้ก็อยู่ที่เราแล้วว่าเรามีเจตนาที่จะ กาหนดรู้อาการเกิดดับของความคิดนั้นหรือไม่ หรือปล่อยให้คิดไปเรื่อย ๆ แล้วแต่เขาจะคิดไป ปล่อยไป ปล่อยไป... รู้ว่าคิดแต่ไม่ใส่ใจที่จะดับ! ถ้าไม่ใส่ใจที่จะดับ นั่นคือการปล่อยตามยถากรรม ไม่มีเจตนาที่จะ เข้าไปกาหนดรู้อาการเกิดดับของความคิด การที่เข้าไปกาหนดรู้ถึงอาการเกิดดับของความคิด เราจะเห็นว่า ความคิดเกิดดับไป แล้วจิตก็จะคลาย
แต่สิ่งที่ต้องไปดับเลยเมื่อความคิดเกิดขึ้นมารบกวนเยอะ ๆ... เมื่อไหร่ก็ตามที่รู้สึกว่ามีความคิด รบกวน ก็จะมี “รสชาติของความคิด” เกิดขึ้น คือความคิดเข้ามาแล้วรู้สึกไม่ดี รู้สึกขุ่น ๆ มีน้าหนัก กระสับกระส่าย ก็ต้องไปดับตรงนั้น ดับตรงที่รสชาติของความคิด ดับรสชาติได้แล้ว ก็มาพิจารณาพร้อม ที่จะกาหนดรู้อาการเกิดดับของความคิด ไม่ปล่อยให้ความคิดนั้นมีกาลัง ไม่ปล่อยให้ความคิดนั้นทาหน้าที่ นานเกินไป เข้ามารบกวนเร่ือย ๆ ถ้าเราไม่มีเจตนาเข้าไปดับรสชาติของความคิด ไม่นานเดี๋ยวก็คลุกคลี กับอารมณ์ คลุกคลีแล้วก็คล้อยตาม ทาให้เกิดความรู้สึกวิตกกังวล กระสับกระส่ายวุ่นวาย ไม่สงบ เกิด ความวิตกกังวลขึ้นมา แล้วก็ทาให้สติเราอ่อน
เพราะฉะนนั้ ในการปฏบิ ตั ขิ องเรา ใหม้ เี จตนาทจี่ ะเขา้ ไปกา หนดรทู้ กุ ๆ อารมณท์ เี่ กดิ ขนึ้ โดยเฉพาะ อารมณ์ที่เป็นอกุศล โดยเฉพาะอารมณ์ที่ไม่ดีที่เข้ามากระทบรบกวนจิตใจ ทาให้เกิดความวุ่นวาย/ขุ่นมัว เศร้าหมอง เมื่อดับไปแล้ว เราจะได้รู้ว่าสติเรามีความแก่กล้าแค่ไหน มีความตั้งมั่นเด็ดเดี่ยวเด็ดขาด แค่ไหนกับการละอกุศล/ละกิเลสของตนเอง ในการปฏิบัติธรรม นอกจากที่เราจะพิจารณาอาการ