Page 16 - หนังสือมรดกภูมิปัญญา
P. 16
มรดกภมู ิปัญญาและเสน้ ทางท่องเที่ยวยุคก่อนประวัติศาสตร์ จังหวัดขอนแก่น
๙
การค้นพบหลักฐานทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ของจังหวัดขอนแก่น เริ่มต้น จากการขุดค้นของนักโบราณคดี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ จากการสารวจบริเวณบ้านโนนนกทา บ้านนา ดี ตาบลบ้านโคก อาเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ปัจจุบันคือ อาเภอหนองนาคา จังหวัดขอนแก่น ของวิลเฮล์ม จิโซลไฮม์ (กองโบราณคดี, ๒๕๓๐) ในหนังสือเรื่อง “เออร์ลี่บรอนซ์ อินนอร์ธอิส เทิร์น ไทยแลนด์ ได้พบโลหะสาฤทธิ์และเหล็กมีเครื่องมือเครื่องใช้เป็นขวาน อายุ 4,600 - 4,800 ปี เป็นหัวขวานหัวเดียวที่พบในประเทศไทยซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์อายุ
ใกล้เคียงกับแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง นอกจากนี้ยังพบแม่พิมพ์ที่ใช้หล่อและพบกาไลแขนสาริด คล้องอยู่ท่ีโครงกระดูกท่อนแขนซ้อนกันหลายวงและพบกาไรทาด้วยเปลือกหอยอีกด้วย
ขวานหินโบราณของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ประมาณ 3,500-4,500 ปี
ที่มาภาพจาก: https://www.museumthailand.com/th/500/storytelling
ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นสังคมเกษตรกรรมที่รู้จักการใช้โลหะ พบว่ากระจายตัว
อยู่ทั่วจังหวัดขอนแก่น ๑๐๐ แห่ง โดยส่วนมากพบตามที่ราบลุ่มแม่น้าพรม แม่น้าพอง แม่น้าเซิน และแม่น้าชีซึ่งการขยายตัวของชุมชนโบราณในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนอย่างมากมายจากชุมชนที่ผลิตเพื่อการบริโภค อุปโภค ภายในชุมชน เป็นการผลิตเพื่อการค้าขาย แลกเปลี่ยน ทาให้เกิดการรวมตัวของกลุ่มชนจนกลายเป็นสังคมเมือง ในที่สุด
จากหลักฐานข้างต้นพิสูจน์ให้เห็นว่าอาณาเขตบริเวณจังหวัดขอนแก่น เป็นแหล่งกาเนิด อารยธรรมอันสูงสุดมาแต่ดึกดาบรรพ์ มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อนสมัยพุทธกาลหลายพันปี มี บรรพบุรุษหลายยุคหลายสมัย รวมถึงมีแหล่งโบราณสถาน โบราณวัตถุ และชุมชนโบราณปรากฏ อยู่เป็นจานวนมาก ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ต่อเนื่องมาตามลาดับจนถึงปัจจุบัน
แหล่งโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ มีแหล่งโบราณสถานและ
ชุมชนโบราณที่สาคัญของจังหวัดขอนแก่น ดังนี้