Page 42 - หนังสือมรดกภูมิปัญญา
P. 42
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ตั้งอยู่ที่ตาบลเมืองพาน อาเภอบ้านผือ กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานบริเวณภูพระบาท เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ปัจจุบันได้รับการ อนุรักษ์และพัฒนาเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ จากหลักฐาน ทางธรณีวิทยาพบว่า เมื่อหลายล้านปีมาแล้ว ภูพระบาทปกคลุมไปด้วยธารน้าแข็ง เมื่อธารน้าแข็ง ละลาย ได้เกิด การกัดกร่อนขนาดใหญ่ บนภูพระบาท ทาให้เกิดเพิงหิน โขดหิน รูปร่างแปลก ๆ เป็นจานวนมาก และเมื่อประมาณ ๓,๐๐๐ - ๒,๕๐๐ ปี มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ได้มาล่า สัตว์ เก็บของป่าบนภูแห่งนี้ และได้แต่งแต้มเพิงหินทรายต่าง ๆ ด้วยการเขียนเป็นภาพฝ่ามือ ภาพ คน และภาพสัตว์ และภาพรูปทรงเรขาคณิตด้วยสีแดง ภาพเหล่านี้บางภาพ สะท้อนให้เห็นถึงการ ดารงชีวิตของคนและสัตว์ในสมัยนั้น โบราณสถานในกลุ่มภูพระบาท ปัจจุบันประชาชนในท้องถิ่น เรียกชื่อสถานที่ต่าง ๆ ไปตามเรื่องนิทานพื้นบ้านอีสาน เรื่อง นางอุสา - ท้าวบารส เช่น หอนาง อุสา วัดพ่อตา วัดลูกเขย คอกม้าท้าวบารส ถ้าฤาษี เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่า ภูพระบาท เป็นกลุ่ม โบราณสถานที่สาคัญและใหญ่ที่สุดกลุ่มหนึ่งของอีสานตอนบนก็ว่าได้
โบราณสถานในภูพระบาทและภาพเขียนสีของมนุษย์โบราณ
ที่มาภาพจาก: http://virtualhistoricalpark.finearts.go.th/phuphrabat
สมัยประวัติศาสตร์ จังหวัดอุดรธานีเป็นท่ีอยู่อาศัยของมนุษย์สืบต่อมา จนกระทั่งสมัย ประวัติศาสตร์ของประเทศไทย นับแต่สมัยทวารวดี (พ.ศ. 1200 - 1600) สมัยลพบุรี (พ.ศ. 1200 - 1800) และสมัยสุโขทัย (พ.ศ. 1800 - 2000) จากหลักฐานที่พบคือ ใบเสมาสมัย ทวารวดี ลพบุรี และภาพเขียนปูนบนผนังโบสถ์ที่ปรักหักพังบริเวณเทือกเขาภูพานใกล้วัดพระ พุทธบาทบัวบก อาเภอบ้านผือ และพบหลักฐานทางการนับถือพระพุทธศาสนาที่รับวัฒนธรรม จากอินเดียซึ่งเชื่อว่ามาจากแอ่งโคราช แล้วเผยแพร่มาสู่บริเวณลุ่มน้าโขง สะท้อนให้เห็นว่า ดินแดนที่ราบสูงแห่งนี้มี อารยธรรมที่เก่าแก่และมีความสาคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย
๓๕