Page 5 - หนังสือมรดกภูมิปัญญา
P. 5
คานิยม
5
ค
จังหวัดขอนแก่น ได้ดาเนินงานโครงการที่สนองนโยบายด้านต่าง ๆ ของรัฐบาลมาอย่าง ต่อเนื่อง โดยให้ความสาคัญในการพัฒนาเมืองให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงการอนุรักษ์สืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นที่ ได้บ่มเพาะ สั่งสมจากรุ่นสู่รุ่น มีการจัดเก็บรวบรวม และถ่ายทอด เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ใน รูปแบบต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะแหล่งมรดกโบราณสถาน หรือสถานที่สาคัญ ๆ ที่ยังคง มีร่องรอยอารยธรรมตามแต่ละยุคสมัย “ยุคก่อนประวัติศาสตร์” เป็นอีกยุคหนึ่งที่มีความสาคัญ ต่อวิถีชีวิตชาวจังหวัดขอนแก่น ซึ่งหมายถึง ช่วงเวลาในอดีตที่มนุษย์ยังไม่รู้จักการบันทึกเรื่องราว ต่าง ๆ ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่มีหลักฐานที่บ่งชี้ถึงยุคสมัยนี้ อาทิ โบราณสถาน ได้แก่ แหล่งที่ อยู่อาศัย เช่น ถ้า เพิงผาหิน โบราณวัตถุ ได้แก่ เครื่องมือเครื่องใช้หินขัด เครื่องสาริดและ เหล็ก เครื่องปั้นดินเผา ลูกปัดจากดินเผาและหินสี เปลือกหอย โครงกระดูกมนุษย์และ สัตว์ ศิลปกรรม ได้แก่ ภาพเขียนสีและภาพจาหลัก บนผนังถ้าหรือเพิงผา ซึ่งสิ่งบ่งชี้เหล่านั้น ปรากฏอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ในจังหวัดขอนแก่น ถือเป็น “ทุนทางวัฒนธรรม” ที่สมควรส่งเสริม
สนับสนุน และพัฒนาให้สามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดการ หมุนเวียน ประชาชนเกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน
องค์ความรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมยุคก่อนประวัติศาสตร์ของจังหวัดขอนแก่น และ จังหวัดในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งที่ได้รับรู้จากการศึกษาภูมิหลังและประวัติความเป็นมา ของท้องถิ่นนั้น ๆ และการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง อาทิ การจัดอบรมพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่ เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน การจัดทาหนังสือมรดกภูมิปัญญาฯ และการจัดนิทรรศการผลิตภัณฑ์ที่ ผ่านการพัฒนาต่อยอด จึงเป็นสิ่งสาคัญและสมควรรวบรวมไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ และ เกิดความภาคภูมิใจในบรรพบุรุษของตนสืบไป
(นายสมศกัดิ์จังตระกุล) ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น