Page 59 - หนังสือมรดกภูมิปัญญา
P. 59

มรดกภมูิปัญญาและเสน้ทางท่องเที่ยวยุคก่อนประวัติศาสตร์ จังหวัดกาฬสินธุ์
จังหวัดกาฬสินธุ์ เมืองที่เชื่อว่าเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ จากชื่อจังหวัดที่มาจากคาว่า “กาฬ” แปลว่า “ดา” และ คาว่า “สินธุ์” แปลว่า “น้า” “กาฬสินธุ์” จึงแปลว่า “น้าดา” สะท้อนให้เห็นว่า จังหวัดนี้มีแหล่งน้าที่ใสสะอาด ความใสของน้าสะอาดจนมองเห็น “สีดา” ซึ่งก็คือ สีของดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุอาหาร มาก หลักฐานที่ช่วยย้าความสมบูรณ์ของพื้นบริเวณนี้ เห็นได้จากหลักฐานทางธรณีวิทยา ย้อนไป ประมาณ ๑๕๐ ล้านปีมาแล้ว ตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์ ที่นักวิจัยพบว่า บริเวณนี้เคยเป็นธารน้าแข็ง โบราณ เป็นแหล่งดื่มน้าของไดโนเสาร์ ครั้งเมื่อมีภัยพิบัติเฉียบพลัน ทาให้ไดโนเสาร์ล้มตายจานวน มาก จนได้พบรอยเท้าและโครงกระดูกของไดโนเสาร์หลายสายพันธุ์ จนมาถึงยุคก่อนประวัติศาสตร์ บริเวณนี้เป็นที่อุดมสมบรูณ์เหมาะแก่การทาการเกษตร มีการตั้งบ้านเรือนของมนุษย์ยุคก่อน ประวัติศาสตร์ที่นักโบราณคดีได้ขุดค้นพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณจานวนมาก โดยเฉพาะในเขต อาเภอคาม่วง พบโครงกระดูกที่มีอายุมากกว่า ๒,๐๐๐ ปี อายุในช่วงเดียวกับบ้านเชียงตอนปลาย นักท่องเที่ยวที่ได้มาจังหวัดกาฬสินธุ์ จะได้เที่ยวถึง ๓ ยุค คือ ๑. ยุคไดโนเสาร์ ๒. ยุคก่อน ประวัติศาสตร์ที่อาเภอคาม่วง และ ๓. ยุคประวัติศาสตร์ นับเป็นอีกจังหวัดที่มีโบราณสถานที่สาคัญ และประวัติศาสตรท์ ี่น่าสนใจอีกมากมาย
แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ มีแหล่งโบราณสถานและ ชุมชนโบราณที่สาคัญของจังหวัดกาฬสินธุ์ ดังนี้
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เคยเป็นที่อยู่ของมนุษย์โบราณมากกว่า ๒,๐๐๐ ปี ดังปรากฏหลักฐานการตั้งที่อยู่อาศัยของมนุษย์ยุคเหล็กตอนปลาย (พุทธศตวรรษที่ ๓ - ๗) พบ ร่องรอยการอยู่อาศัยในหลุมขุดค้นบริเวณโนนเมืองเก่า คือ ภาชนะดินเผาลายเขียนสีแดงบนพื้นครีม ซึ่งเป็นภาชนะที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายในบริเวณแอ่ง สกลนครและแอ่งโคราช และยังพบภาชนะที่ตกแต่งผิวด้วยการทาน้าโคลนสีแดงด้วย มีการปลงศพ ด้วยการฝังยาว โดยวางศีรษะให้หันไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือทั้งหมด แต่มีทั้งแบบนอนหงาย และนอนตะแคง ไม่พบการอุทิศสิ่งของให้ศพ นอกจากนี้ยังพบร่องรอยของกิจกรรมการถลุงเหล็ก ด้วยเทคนิคโบราณทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของโนนเมืองเก่า และชุมชนในชั้นนี้ยังรู้จักการผลิต เครื่องประดับสาริดประเภท กาไล แหวน ต่างหู กระบวนการผลิตคล้ายกับแหล่งโบราณคดียุคโลหะ ที่พบในแอ่งสกลนคร แอ่งโคราช บ้านเชียงและ บ้านนาดี เป็นต้น
๕๒






























































































   57   58   59   60   61