Page 90 - หนังสือมรดกภูมิปัญญา
P. 90

มรดกภมูิปัญญาและเสน้ทางท่องเที่ยวยุคก่อนประวัติศาสตร์ จังหวัดหนองบัวล าภู
จังหวัดหนองบัวลาภูเป็นเมืองโบราณ เดิมเป็นดินแดนที่ขึ้นต่อกรุงศรีสัตตนาคนหุต (เวียง จันทร์) มีชื่อว่า “เมืองหนองบัวลุ่มภู นครเขื่อนขันธกาบแก้วบัวบาน” ดินแดนที่อยู่อาศัยของ มนุษย์ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สถานที่ขุดค้นพบกระจายอยู่หลายแหล่งทั่วบริเวณนี้ จังหวัด นี้เดิมเคยเป็นอาเภอหนึ่งของจังหวัดอุดรธานี ทาให้มีหลักฐานทางโบราณคดีหลายแหล่งที่เชื่อว่า เป็นแหล่งโบราณคดีที่มีอายุใกล้เคียงกับวัฒนธรรมบ้านเชียง ประมาณ พ.ศ. 1100 - พ.ศ. 1500 หรือประมาณ 2,500 ปี จังหวัดหนองบัวลาภูยังพบหลักฐานสมัยประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ สมัยทวารวดี สมัยสุโขทัย สมัยวัฒนธรรมขอมอีกด้วย นับเป็นหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบนที่มีประวัติศาสตร์สมัยยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ควรค่าแก่การศึกษาและท่องเที่ยวเชิง ประวัติศาสตร์เป็นอย่างมาก
แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ มีแหล่งโบราณสถาน และชุมชนโบราณที่สาคัญของจังหวัดหนองบัวลาภู ดังนี้
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จังหวัดหนองบัวลาภู เคยเป็นดินแดนที่อยู่อาศัยของมนุษย์ยุค โบราณมานานนับพันปี ดังปรากฏหลักฐานกระจายอยู่หลายแห่งในพื้นที่บริเวณนี้ ได้แก่ ภาพเขียนสี และภาพสลักหินในเขตอาเภอโนนสังที่ถ้าเสือตก ถ้าจันใด ถ้าพรานไอ้ ถ้าอาจารย์สิน และถ้ายิ้ม หรือภาพเขียนสี ในเขตอาเภอสุวรรณคูหา ที่ถ้าสุวรรณคูหาและถ้าภูผายา เป็นต้น เรื่อยมาจนถึงการดารงชีวิตในสังคมกสิกรรมที่มนุษย์เริ่มอยู่รวมกันเป็นชุมชน มีการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ทอผ้า ทาเครื่องประดับ และหล่อโลหะแบบง่าย ๆ หลักฐานที่ปรากฏให้เห็นได้แก่ แหล่ง โบราณคดีกุดกวางสร้อย และกุดคอเมย ในเขตอาเภอโนนสัง ซึ่งพบโครงกระดูกมนุษย์และสัตว์ เศษภาชนะดินเผา เศษเครื่องประดับสาริด รวมทั้งเครื่องมือเหล็กต่าง ๆ ที่มีอายุร่วมสมัยกับแหล่ง โบราณคดีบ้านเชียงจังหวัดอุดรธานี ตัวอย่างแหล่งโบราณคดีมีดังนี้
วัดถ้ากลองเพล วัดถ้ากลองเพล เป็นวัดป่าที่มีชื่อเสียงของจังหวัดหนองบัวลาภู ตั้งอยู่เชิงเขาภู พาน เดิมสันนิษฐานว่าเป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในสมัยขอมเข้ามาครอบครองแผ่นดินแห่งนี้ แต่ไม่มี หลักฐานว่าสร้างมาตั้งแต่เมื่อใด ต่อมาเป็นวัดร้าง ไม่มีพระภิกษุสามเณรจาพรรษา จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ. 2501 พระอาจารย์หลวงปู่ขาว อนาลโยพระวิปัสสนากรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะ เถระ ได้อาศัยวัดแห่งนี้เป็นสถานที่วิปัสสนากรรมฐาน โดยใช้พื้นที่ที่เกิดจากหมู่ก้อนหินขนาดใหญ่ 3 - 4 ก้อน ที่มีหลืบและชะโงกหิน ก่อเป็นหลังคาคอนกรีตเชื่อมถึงกัน ทาให้พื้นที่บริเวณนั้นกลายเป็น ห้องโถงขนาดใหญ่ สามารถจุคนได้หลายร้อยคน เพื่อใช้เป็นที่บาเพ็ญสมณธรรม จนกระทั่งมรณภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2526 ภายในบริเวณวัดมีบรรยากาศร่มรื่นและเงียบสงบ สมัยอดีตมีการสารวจถ้าในวัด ได้พบกลองโบราณสองหน้า ซึ่งอาจเป็นที่มาของชื่อ “วัดถ้ากลองเพล” นอกจากนี้ยังพบพระพุทธรูปปาง ลีลาจาหลักอยใู่ นก้อนหิน และสวนหินสวยงามที่มีรูปร่างแปลกตานับเป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาด มาเยือน เหมาะแก่การมาศึกษาวิถีธรรมชาติและวิถีพุทธอีกด้วย
๘๓





























































































   88   89   90   91   92