Page 1 - E-BookRoyal 77
P. 1
บทบาท
ของพระมหากษัตริย์
ในการพัฒนาชาติไทย
สถาบันพระมหากษัตริย์มีบทบาทส าคัญอย่างยิ่งในการพัฒนา
ชาติไทยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันหลัก
ของสังคมไทยที่เกื้อกูลแผ่นดิน มาช้านาน พระมหากษัตริย์ไทยในแต่ละยุคสมัยอาจมีพระ
ราชอํานาจและใช้ พระราชอํานาจแตกต่างกัน แต่ทุกพระองค์ล้วนยอมรับกรอบของความ
เป็นพระราชาตามคําสอนในพระพุทธศาสนา นั่นคือ พระมหากษัตริย์ต้องมี “ราชธรรม”
เป็นหลัก หรือเป็นแนวทางในการปกครอง
ในสมัยอยุธยา แนวคิดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์เปลี่ยนแปลงไปจาก สมัยสุโขทัย
เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากศาสนาฮินดูผ่านทางอาณาจักรขอม พระมหากษัตริย์แห่ง
อาณาจักรอยุธยาเพิ่มคุณลักษณะของความเป็น “เทพเจ้า” ซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์และมี
อํานาจเหนือสามัญชน พระมหากษัตริย์ คือ พระนารายณ์อวตารลงมายังโลกมนุษย์เพื่อ
ขจัดทุกข์เข็ญ เป็น “เทวราชา” หรือ ราชาผู้เป็นเทวะ ซึ่งมีราชธรรมเป็นเครื่องกํากับ
พระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยา จึงเป็นทั้ง “เทวราชา” และ "ธรรมราชา” ในขณะเดียวกัน
ดังจะเห็นได้จาก พระนามพระเจ้าแผ่นดินว่า “พระรามาธิบดี" "พระศรีสรรเพชญ์”, “พระ
มหาจักรพรรดิ” “พระเจ้าทรงธรรม" และ “พระนารายณ์"
พระมหากษัตริย์ในสมัยรัตนโกสินทร์สืบทอดคติทั้งสองต่อมา แม้ว่า ในด้าน
ขนบธรรมเนียม ประเพณีในราชสํานัก พระมหากษัตริย์จะทรงเป็น “เทวราชา” แต่
พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ได้ทรงแก้ไขแบบแผน ธรรมเนียมให้เป็นคุณ
แก่ราษฎร ดังเช่นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีพระบรมราช
โองการโปรดเกล้าฯ ประกาศยกเลิกประเพณีการ ยิงกระสุนในระหว่างทางเสด็จพระราช
ดําเนิน อันเป็นประเพณีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นต้น