Page 141 - ไม้แกะสลักล้านนา ปูมผญาสล่าเมือง
P. 141
141
สล่าชัยวัฒน์ ทาตา ประเภทงานแกะสลกั :งานแกะสลกั พระพทุ ธรปู ไมแ้ บบลอยตวั และงานแกะสลกั ภาพนนู ตา่ ตวั ละครในวรรณคดแี ละวถิ ชี วี ติ
สล่าแห่งลุ่มน้าสาละวิน อาเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
สล่าแกะไม้ที่มีภูมิลาเนาเดิมอยู่ที่อาเภอคลองลาน จังหวัดกาแพงเพชร สล่าชัยวัฒน์ ทาตา หรือสล่าอ้น ย้ายตามพ่อแม่ ซงึ่ ทา อาชพี คา้ ไมม้ าอยทู่ อี่ า เภอแมส่ ะเรยี ง จงั หวดั แมฮ่ อ่ งสอน ในวยั เพยี ง ๑๐ ขวบ เขาเขา้ สโู่ ลกแหง่ การแกะสลกั ไม้ ใน พ.ศ. ๒๕๔๔ เมื่อครั้งที่มีการเปิดศูนย์ศิลปาชีพแม่สะเรียง ซึ่งในเวลานั้นนายอาเภอแม่สะเรียงได้คัดสรรสล่าแกะไม้จากบ้านถวาย ๒ ท่าน คือ ครูศรีและครูใหญ่ (สล่าอดุลย์ บุตรเทพ) มาถ่ายทอดความรู้เรื่องงานแกะสลักไม้ให้ โดยเริ่มสอนการแกะสลักไม้สักเป็นหัวช้างติด ผนังและหน้าเขมรบายน ใช้เวลาประมาณ ๕ เดือน ต่อมา พ.ศ. ๒๕๔๕ ครูศรีและครูใหญ่เห็นพรสวรรค์ด้านงานแกะสลักไม้ของ สล่าชัยวัฒน์ จึงได้ฝากให้เรียนรู้งานแกะสลักไม้กับครูน้อยแอนที่บ้านถวาย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งสล่าชัยวัฒน์ถือเป็นช่างรุ่นที่ ๔ ของบ้านถวาย
สล่าชัยวัฒน์เก็บเกี่ยวประสบการณ์ในการทางานไม้แกะสลักไปเรื่อยๆ ทั้งเรียนรู้วิธีการลงรายละเอียดที่บ้านสล่าอดุลย์ เดินทางไปแกะสลักไม้ตามวัดต่างๆ จึงได้องค์ความรู้มากมายเรื่องการแกะสลักพระพุทธรูป ใน พ.ศ. ๒๕๔๗ สล่าชัยวัฒน์ตัดสินใจ เดินทางกลับไปที่แม่ฮ่องสอน เริ่มงานแกะสลักไม้ที่บ้าน สามารถขายงานตนเองที่โฮมสเตย์ซึ่งเป็นธุรกิจของที่บ้าน และรับงาน จากบ้านถวาย ทาให้ชาวบ้านเห็นว่าการแกะสลักไม้นั้นสามารถทาเงินได้จึงเริ่มทางานแกะสลักไม้กันบ้าง โดยสล่าชัยวัฒน์ได้สอน งานแกะไม้ให้กับช่างรุ่นแรก ๗ คน แล้วจึงก่อตั้งกลุ่มไม้แกะสลักบ้านสบเมยใน พ.ศ. ๒๕๔๗
ใน พ.ศ. ๒๕๕๐ สล่าชัยวัฒน์ได้ย้ายไปอยู่เชียงใหม่ ทางานส่งที่บ้านถวายและเริ่มทางานแกะปลาอานนท์และนางเงือก เขาผ่านประสบการณ์มากมายในช่วงที่ทางานแกะสลักไม้ ทั้งเปิดโรงงานเองและปิดโรงงานไปในไม่กี่ปี จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ เขากลับมารื้อฟื้นกลุ่มแกะสลักไม้บ้านสบเมยอีกครั้ง โดยเปลี่ยนชื่อกลุ่มว่า “กลุ่มไม้แกะสลักบ้านแม่สามแลบ” จากนั้นกลุ่ม ไมแ้ กะสลกั บา้ นแมส่ ามแลบภายใตก้ ารนา ของสลา่ ชยั วฒั นจ์ งึ สง่ งานแกะสลกั ไมห้ นา้ เขมรบายนจากไมส้ กั ซงึ่ มคี วามกวา้ ง ๒๐ เซนตเิ มตร ความสูง ๑ ฟุต เข้ารับการประเมินคุณภาพ ซึ่งส่งไปคัดสรรผลงาน OTOP ที่กรุงเทพมหานคร ผลงานการแกะสลักไม้ดังกล่าว ไดร้ บั คะแนน ๗๐ - ๘๐ คะแนน ไดร้ บั คดั เลอื กเปน็ OTOP ระดบั ๔ ดาว จากนนั้ ตลอดระยะเวลา พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๑ กลมุ่ ไมแ้ กะสลกั บ้านแม่สามแลบก็เดินสายออกงานไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ สร้างชื่อให้กับกลุ่มเป็นอย่างมาก
สล่าชัยวัฒน์นอกจากจะถ่ายทอดความรู้ให้สล่าในอาเภอสบเมยแล้ว เขายังได้ร่วมมือกับสานักงานพัฒนาชุมชนอาเภอ สบเมย (พ.ศ. ๒๕๕๗) และอาเภอแม่ฮ่องสอน (พ.ศ. ๒๕๕๙) ในการถา่ ยทอดความรเู้ รอื่ งการแกะสลกั ไมใ้ หก้ บั ผทู้ สี่ นใจ นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานอื่นๆ ที่ติดต่อมาอีกหลายหน่วยงาน
เกียรติประวัติการทางานของสล่าชัยวัฒน์
- พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้รับรางวัลคนดีศรีแม่ฮ่องสอน สาขาศิลปะและหัตถกรรม
- พ.ศ. ๒๕๖๑ ได้รับรางวัลการแข่งขันทักษะแกะสลักไม้ ในงานคุณหมิงแฟร์ ครั้งที่ ๒๕ เอเชียใต้ครั้งที่ ๕ มีประเทศไทย ลาว พม่า และเวียดนาม ณ ประเทศจีน โดยชนะเลิศรางวัลที่ ๒ ในการแกะหน้าพระพุทธรูปภาพนูนต่า ๓ มิติ
- พ.ศ. ๒๕๕๙ ได้ร่วมงานเทศกาล Setouchi Triennale ๒๐๑๖ ณ ประเทศญี่ปุ่น โดยแกะสลักนางเงือก และได้รับธง สัญลักษณ์ อีกทั้งเป็นช่างแกะสลักไม้คนเดียวในประเทศไทยที่ได้ไปร่วมงาน
- พ.ศ. ๒๕๕๙-ปจั จบุ นั ดา รงตา แหนง่ ผทู้ รงคณุ วฒุ ิ OTOP อา เภอสบเมย จงั หวดั แมฮ่ อ่ งสอน ดา รงตา แหนง่ รองประธาน OTOP นวัตวิถีของอาเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตลอดจนเป็นประธานกลุ่มไม้แกะสลักบ้านแม่สามแลบ
(ชัยวัฒน์ ทาตา, สัมภาษณ์, ๘ มิถุนายน ๒๕๖๒)
สํานักงํานวฒันธรรมจงัหวดัลําปําง
ไม้แกะสลักล้านนา ปูมผญาสล่าเมือง