Page 27 - คู่มือการฝึก
P. 27
24
หมายเหตุ
- ในการตรวจค้นบุคคลในท่ายืนนั้น ไม่ควรให้ผู้ต้องสงสัยยืนหันหน้ายันกําแพงในลักษณะที่ไม่เสีย การทรงตัว เพราะทําให้ผู้ต้องสงสัยมีหลัก และอาจหันกลับมาใช้ศอกทําร้ายผู้ตรวจค้นได้
ท่าที่ 2 การตรวจค้นบุคคลในท่าคุกเข่ามือประสานที่ศีรษะ
ขั้นตอนที่ 1 ให้ตํารวจผู้ทําหน้าที่ผู้เผชิญหน้าเป็นผู้ตรวจค้น ส่วนตํารวจผู้คุ้มกันยืนอยู่เฉียงไปทาง ด้านหลัง ทํามุมเป็นรูปตัววีแต่ไม่เกินตัวแอล กับตํารวจผู้เผชิญหน้า ตํารวจผู้เผชิญหน้าออกคําสั่งให้ผู้ต้องสงสัยชูมือ ทั้งสองข้างขึ้นเหนือศีรษะ หมุนตัวหันไปด้านหลังช้า ๆ แล้วนั่งคุกเข่าลง นํามือทั้งสองข้างประสานกันไว้ หันฝ่ามือ หงายขึ้นด้านบน นําหลังมือมาวางไว้บนศีรษะ จากนั้นสั่งให้นําเท้าไขว้ทับกันไว้ (รูป 5.4)
ขั้นตอนที่ 2 เจ้าหน้าที่ตํารวจผู้เผชิญหน้า เดินเข้าหาผู้ต้องสงสัยทางด้านหลัง กรณีตํารวจ ผู้เผชิญหน้าอยู่เยื้องไปทางด้านขวาของผู้ต้องสงสัย ให้เดินเข้าทางด้านขวาของผู้ต้องสงสัย ใช้มือซ้ายจับมือทั้ง สองข้างของผู้ต้องสงสัยไว้ แขนเหยียดตรง จากนั้นใช้มือขวาค้นบริเวณลําตัวตั้งแต่ระดับเอวถึงศีรษะ และจากเอว ไปถึงปลายเท้า (รูป 5.5)
ขั้นตอนที่ 3 กรณีต้องการค้นอีกด้านของผู้ต้องสงสัย ให้ผู้ตรวจค้นเปลี่ยนมือสลับข้างกัน ส่วนตํารวจผู้คุ้มกันก็เปลี่ยนตําแหน่งไปยืนคุ้มกันอีกด้านหนึ่ง โดยทํามุมเป็นรูปตัววี แต่ไม่เกินตัวแอลเช่นกัน (รูป 5.6)
รูป 5.4 รูป 5.5 รูป 5.6
ท่าที่ 3 การตรวจค้นบุคคลในท่านอนคว่ําหน้า
ขั้นตอนที่ 1 ให้ตํารวจผู้ทําหน้าที่เผชิญหน้าเป็นผู้ตรวจค้น ส่วนตํารวจผู้คุ้มกันยืนอยู่เฉียงไป ทางด้านหลัง ทํามุมเป็นรูปตัววี แต่ไม่เกินตัวแอล กับตํารวจผู้เผชิญหน้า จากนั้นตํารวจผู้เผชิญหน้าออกคําสั่งให้ ผู้ต้องสงสัยนอนคว่ําหน้าลงกับพื้น กางแขน กางเท้าออกให้กว้าง นํามือทั้งสองข้างเหยียดตรงไปด้านบนเหนือศีรษะ แล้วเอามือประสานกันหันฝ่ามือออกไปด้านหน้า (รูป 5.7)
ขั้นตอนที่ 2 เจ้าหน้าที่ตํารวจผู้เผชิญหน้า เดินเข้าหาผู้ต้องสงสัยทางด้านหลัง กรณีตํารวจ ผู้เผชิญหน้าอยู่เยื้องไปทางด้านขวาของผู้ต้องสงสัย ออกคําสั่งให้ผู้ต้องสงสัยพลิกตัวด้านซ้าย เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจค้น