Page 41 - คู่มือการฝึก
P. 41

38
หัวข้อที่ 9 การป้องกันตัวด้วยอาวุธที่ไม่ถึงตาย
1. รายละเอียดของการฝึก การป้องกันตัวด้วยอาวุธที่ไม่ถึงตาย
- อุปกรณ์ประจํากาย (กระบองยืดขยาย)
- อุปกรณ์ประจํารถ (ไม้ง่าม, กระสุนยาง, ปืนลูกซอง) การใช้กระบอง
1. ประเภทของกระบอง
1.1 กระบองยาว 24 นิ้ว ทําจากไม้เนื้อแข็ง ลักษณะเป็นท่อนกลมตลอดด้ามจรดปลาย
1.2 กระบองยืดขยาย ผลิตจากเหล็กที่มีคุณภาพสูงความยาวระหว่าง 6 – 10 นิ้ว น้ําหนักอยู่ที่
ประมาณ 4 – 16 ออนซ์ แต่เมื่อขยายจนสุดแล้วจะวัดได้ 16 – 24 นิ้ว ตามขนาดความยาวของกระบอง
2. การใช้กระบองต่อสู้ป้องกันตัวควรใช้กระบองในลักษณะการป้องกันมากกว่าการตีทําร้ายเพื่อ
ภาพพจน์ที่ดีของตํารวจ
3. หากจําเป็นต้องใช้กระบองตีคนร้ายควรมุ่งจุดตีที่อวัยวะส่วนของร่างกายเฉพาะที่ใช้ในการต่อสู้
ขัดขวางการจับกุมเท่านั้น เช่น มือ แขน ขา เป็นต้น โดยหลีกเลี่ยงที่จะตีอวัยวะส่วนของร่างกายที่แตกมีบาดแผล และเลือดออกได้ง่าย เช่น ศีรษะ ใบหน้า ลําคอ กระดูกสันหลัง ซึ่งจะเป็นเหมือนกับการทําร้ายคน
4. หากจําเป็นต้องตีป้องกันตัวควรตีเพื่อให้หยุดการเคลื่อนไหวที่บริเวณขาทําให้คนร้ายทรุดตัวลงหรือตี ที่ท่อนแขนทําร้ายกล้ามเนื้อที่จะใช้ต่อสู้ หรือบริเวณมือหรือข้อมือ ซึ่งคนร้ายไม่สามารถใช้มือในการต่อสู้ได้
5. วิธีการฝึก
5.1 ท่าเตรียมพร้อม ให้ผู้ปฏิบัติยืนในท่าเผชิญเหตุ (Ready Stance) ใช้มือถนัดจับกระบอง
นําออกมาถือไว้ในระดับไหล่ ปลายกระบองชี้ไปทางด้านหลัง ส่วนมือข้างที่ไม่ได้ถือกระบองให้ยกขึ้นในลักษณะ ตั้งการ์ด และให้ตํารวจออกคําสั่งด้วยวาจา “อย่าเข้ามา จะใช้กระบอง” (รูป 9.1 – 9.2)
รูป 9.1 รูป 9.2
  
















































































   39   40   41   42   43