Page 45 - คู่มือการฝึก
P. 45
42
การใช้สเปรย์พริกไทย
1. สถานการณ์หรือขอบเขตการใช้
ระดับการใช้กําลังของตํารวจในการจับกุมคนร้าย หรือควบคุมสถานการณ์นั้น ตํารวจต้องใช้เพื่อ
การควบคุมเหตุการณ์ หรือเพื่อการจับกุมคนร้ายเท่าที่จําเป็น มิใช่ใช้เพื่อการลงโทษ ทําโทษ แก้แค้น หรือทําร้ายคน หรือประชาชน โดยไม่มีเหตุอันสมควร
2. ขั้นตอนการใช้
ขั้นตอนที่ 1 ตํารวจที่แต่งเครื่องแบบ ให้พกซองพร้อมใส่กระป๋องบรรจุสเปรย์พริกไทย ไว้ในเข็มขัด
ข้างเอวด้านมือที่ไม่ถนัด
ขั้นตอนที่ 2 เมื่อพบเหตุจะใช้ ให้ตํารวจตะโกนให้คําสั่งบอกก่อน หรือ บอกว่า ถ้าไม่หยุด จะใช้สเปรย์
พริกไทย “หยุด ถ้าไม่หยุดจะใช้สเปรย์พริกไทย” พร้อมกับชูกระป๋องสเปรย์พริกไทยไปที่คนร้าย เพื่อบอกคนร้าย และประชาชนข้างเคียงให้ทราบ
ขั้นตอนที่ 3 ให้ตํารวจผู้ฉีด ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดถือสเปรย์พริกไทย ห่างจากคนร้ายประมาณ 3 - 5 ฟุต เหนี่ยวไกกระป๋องสเปรย์พริกไทยให้สุดเพื่อฉีดประมาณครึ่งวินาที หรือจนกว่าคนร้ายจะยอมจํานน (ควรฉีดโดย เหนี่ยวไก แล้วฉีดครั้งที่ 2 หรือ 3 ในทันที ครั้งละครึ่งวินาที) โดยฉีดไปที่ตา ถ้าคนร้ายสวมแว่น ให้ฉีดที่หน้าผาก
ขั้นตอนที่ 4 เมื่อผู้ถูกฉีดยอมแล้ว หรือล้มลง หรือหยุดวิวาททําร้าย ห้ามฉีดใส่ซ้ํา ให้รีบจับกุม และ ปฐมพยาบาลต่อไป
3. การปฐมพยาบาลหรือการปฏิบัติหลังการใช้
เมื่อคนร้ายยอมให้จับ ให้นําตัวคนร้ายมายังที่โล่ง เพื่อให้อากาศพัดผ่านให้สเปรย์พริกไทยบรรเทา
อาการแสบร้อนแก่คนร้าย แล้วให้คนร้ายใช้น้ําเย็นล้างหน้า ตา จมูกทันที และเรียกหน่วยปฐมพยาบาล หรือนําส่ง โรงพยาบาล
2. อุปกรณ์การฝึก
2.1 คู่มือตํารวจ
2.2 ชาร์ต
2.3 power point
2.4 เข็มขัดยุทธวิธีพร้อมอุปกรณ์และกระบองยืดขยาย 2.5 ผู้แสดง (ครู หรือนักเรียน)