Page 29 - Demo
P. 29

 เป็นการประเมินสมรรถนะด้านทักษะปฏิสัมพันธ์ การสื่อสาร (interpersonal and communication skills) และความเป็นมืออาชีพในสาขาจักษุวิทยา (professionalism) การประเมินใช้เครื่องมือ ได้แก่
• แบบประเมินภาคปฏิบัติองค์รวม EPA ซึ่งจะมีเครื่องมือวัดความเป็นมืออาชีพและทักษะ
ส่วน non-technical skill รวมอยู่ด้วย
• ความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ การเข้าร่วมกิจกรรมวิชาการ งานที่ได้รับมอบหมาย ความตรง
ต่อเวลา
• การร้องเรียนเรื่องพฤติกรรมไม่เหมาะสมตามเกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของ
แพทยสภา พ.ศ. ๒๕๕๕ (ภาคผนวกที่ ๑๕)
• การประเมิน ๓๖๐ องศา ประเมินตนเอง โดยอาจารย์และเพื่อนแพทย์ประจําบ้าน พยาบาล
และเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ดังนี้
ประเมินโดยอาจารย์ (การประเมินตามสาย) ๓๕ %
ประเมินจากเจ้าหน้าที่ ๔๐ % แบ่งเป็น - เจ้าหน้าที่ OPD
- เจ้าหน้าที่ Ward - เจ้าหน้าที่ OR
- เจ้าหน้าที่ภาควิชา
๑๐ % ๑๐ % ๑๐ % ๑๐ %
ประเมินจากเพื่อน ๒๕ %
๔) ภาควิชากําหนดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมบันทึกรายงานประสบการณ์เรียนรู้ ใน log book และรายงาน
ต่ออาจารย์ที่ปรึกษาทุก ๒ เดือน เพื่อประเมินความก้าวหน้าการอบรมเป็นระยะๆ อย่างสม่ําเสมอ
๕) ภาควิชากําหนดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมรายงานความก้าวหน้างานวิจัย ใน research clinic ทุก ๓ เดือน และการส่งสอบเพื่อวุฒิบัตรฯ นั้น ราชวิทยาลัยฯ กําหนดว่าต้องส่งผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ หรือ รายงานผู้ป่วยฉบับสมบูรณ์ ซึ่งเป็น เรื่องที่ได้รับการลงพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ หรือ เคยเสนอ ผลงานวิจัย ในการประชุมวิชาการทางการแพทย์มาแล้ว (ภาคผนวกที่ ๕, ๘)
๕). ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องร่วมกิจกรรมประชุมวิชาการทางจักษุวิทยา ทั้งในระดับภาควิชาฯ ระดับ คณะฯ หรือระดับประเทศ
(๒) ในการสอบวัดความรู้แต่ละครั้งภาควิชาฯ กําหนดเกณฑ์การผ่านการสอบที่ชัดเจน มี Minimal passing level (MPL) โดยสามารถสอบแก้ตัวได้ ๒ ครั้ง ในรายวิชาใดๆ ตามที่อาจารย์ผู้สอบกําหนด การสอบทักษะเป็นไปตามที่ ราชวิทยาลัยกําหนดในภาคผนวกที่ ๖ (milestones การอบรม) ด้านเจตคติ แพทย์ประจําบ้านต้องมีความ ประพฤติดี ปฏิบัติตามคุณลักษณะ เกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา พ.ศ. ๒๕๕๕ (ภาค ผนวกที่ ๑๕) และข้อบังคับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่าด้วยวินัยนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗
(๓) การวัดและประเมินผลการปฏิบัติงานของแพทย์ประจําบ้านเมื่อสิ้นสุดการฝึกอบรมในแต่ละช่วงชั้นปี มี วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เข้ารับการอบรม การผ่านการอบรมเพื่อเข้าสู่ระดับชั้นปีที่สูงขึ้น แพทย์ประจําบ้านต้องผ่านการประเมินทุกด้านทั้ง “ความรู้ ทักษะและเจตคติ” คณะกรรมการการศึกษาหลัง ปริญญาฯ มีอํานาจในการให้เลื่อนชั้นปี ระงับการเลื่อนและให้ซ้ําชั้นปี หรือการระงับการฝึกอบรม (terminate training) ของแพทย์ประจําบ้านได้ หากยังไม่มีสมรรถนะเพียงพอในการเลื่อนชั้นปี หรือยังมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม แม้ได้รับการตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรจากภาควิชาฯ แล้วสองครั้ง
หน้า%๒๙จาก๑%๕๓













































































   27   28   29   30   31