Page 40 - แผนปฏิบัติราชการ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
P. 40

สุขภาพ (๒) แผนย่อยการคุ้มครองทางสังคมขั้นพื้นฐานและหลักประกันทางเศรษฐกิจ สังคม และ
▪ แนวทางการพัฒนา ปรับปรุงระบบและกลไกในการคุ้มครองผู้บริโภค
▪ เป้าหมายของแผนย่อย: คนไทยทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มด้อยโอกาสและกลุ่มเปราะบาง
ได้รับการคุ้มครองและมีหลักประกันทางสังคมเพ่ิมขึ้น
▪ การบรรลุเป้าหมายตามแผนย่อยของแผนแม่บทฯ
พัฒนาระบบและกลไกในการคุ้มครองผู้บริโภคผ่านสภาองค์กรผู้บริโภค สนับสนุน องค์กรของผู้บริโภคให้มีความเข้มแข็ง ป้องกันการละเมิดสิทธิผู้บริโภคและอํานวยความยุติธรรม แก่ผู้บริโภค สนับสนุนการบริโภคอย่างยั่งยืน และส่งเสริมให้ภาคีการพัฒนาต่าง ๆ มีบทบาทในการ สนับสนุนการคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างเป็นรูปธรรม
๒.๑.๕ ประเด็นท่ี ๒๑ (รอง) การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ (๑) เป้าหมายระดับประเด็นของแผนแม่บทฯ
▪ เป้าหมายท่ี ๑ ประเทศไทยปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ ▪ การบรรลุเป้าหมายตามแผนแม่บทฯ
สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี มีวัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งความโปร่งใสในการ ดําเนินงาน ทุกหน่วยงานจึงร่วมขับเคล่ือนเพื่อให้วัฒนธรรมดังกล่าวเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม
(๒) แผนย่อยการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ
▪ แนวทางการพัฒนา ผ่านกลไกคณะทํางานที่จัดตั้งข้ึนเพื่อส่งเสริมให้เกิดความโปร่งใส ในการดําเนินงานและขับเคลื่อนให้หน่วยงานมีผ่านเกณฑ์ประเมินความโปร่งใส (ITA) ระดับ AA
▪ เป้าหมายของแผนย่อย: ประชาชนมีวัฒนธรรมและพฤติกรรมซื่อสัตย์สุจริต
▪ การบรรลุเป้าหมายตามแผนย่อยของแผนแม่บทฯ
สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีการตั้งคณะทํางานคณะทํางานบูรณาการและ ขับเคลื่อนภารกิจการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบและการส่งเสริมคุ้มครองคุณธรรมและ จริยธรรมของสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี โดยมีอํานาจหน้าท่ีในการวิเคราะห์ เสนอมาตรการและขับเคล่ือน การส่งเสริมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ วิเคราะห์ ส่งเสริมและ พัฒนาสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีเป็นองค์กรคุณธรรม และขับเคลื่อนให้หน่วยงานมีผ่านเกณฑ์ประเมิน ความโปร่งใส (ITA) ระดับ AA
๒.๒ ความสอดคล้องกับแผนระดับที่ ๒ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับท่ี ๑๓ มีจุดมุ่งหมายสูงสุดเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ให้สามารถบรรลุผลตามเป้าหมายการพัฒนาระยะยาวที่กําหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ โดยมุ่งหวังให้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐) ทําหน้าที่เป็นกลไกในการชี้ประเด็นที่มีลําดับความสําคัญสูงต่อการพัฒนา ประเทศในระยะ ๕ ปี และเพื่อผลักดันให้ประเทศสามารถก้าวข้ามความท้าทายต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนสู่ ความเจริญเติบโตที่ทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน ภายใต้หลักการและแนวคิดที่สําคัญ ๔ ประการ ได้แก่ (๑) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (๒) แนวคิด Resilience ซึ่งเป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นการลดความ
 -๒๗-
 

















































































   38   39   40   41   42