Page 246 - Channels and Distribution Management
P. 246

   236 การจััดการช่่องทางการจััดจัําหน่่ายและการกระจัายสิิน่ค้้า 236
  11.1 ความหมายและความสาคัญของการคลังสินค้า (Definition and Importance of Warehousing)
คลังสินค้าเป็นองค์ประกอบสําคัญในกระบวนการจัดจําหน่ายและห่วงโซ่อุปทานโดยมีบทบาท สําคัญในการจัดเก็บสินค้าเพื่อเตรียมพร้อมสําหรับการจําหน่ายหรือการขนส่งไปยังปลายทางต่างๆ ให้ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการจัดการคลังสินค้าที่ดีช่วยสร้างความต่อเนื่องในกระบวนการ ผลิตและการจัดจําหน่ายสินค้า โดยสามารถควบคุมปริมาณสินค้าคงคลังและรักษาคุณภาพของสินค้า ได้ นอกจากนี้ การใช้คลังสินค้ายังช่วยลดต้นทุนการดําเนินงานโดยการเพิ่มความคล่องตัวใน การกระจายสินค้าและปรับปรุงความพึงพอใจของลูกค้าผ่านการส่งมอบที่รวดเร็วและตรงเวลา
11.1.1 ความหมายของการคลังสินค้า (Definition of Warehousing)
การคลังสินค้า หมายถึง การจัดเก็บวัตถุดิบ สินค้าสําเร็จรูป และวัสดุอื่นๆ ภายในพื้นที่ที่ กําหนดเพื่อรองรับกระบวนการผลิตและการจัดจําหน่าย โดยเน้นการจัดการสินค้าคงคลังให้มี ประสิทธิภาพ และลดความเสี่ยงที่เกิดจากการขาดแคลนสินค้า (Chopra and Meindl, 2019)
การคลังสินค้า หมายถึง การจัดการทรัพยากรที่สําคัญในการขนส่งและการจัดจําหน่าย สินค้า โดยมีหน้าที่หลักในการรักษาสินค้าให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด และพร้อมสําหรับการจัดส่งไปยัง จุดหมายปลายทางตามความต้องการของตลาด (Rushton et al., 2017)
การคลังสินค้า หมายถึง ระบบที่ซับซ้อนที่ประกอบด้วยหลายขั้นตอน ตั้งแต่การรับ สินค้า การจัดเก็บ การตรวจสอบสินค้า และการจัดเตรียมสินค้าเพื่อการจัดส่ง โดยมุ่งเน้นการเพิ่ม ประสิทธิภาพในการจัดการพื้นที่และการควบคุมต้นทุน (Tompkins and Smith, 2020)
จากแนวคิดของนักวิชาการเกี่ยวกับการคลังสินค้าข้างต้นสรุปได้ว่าการคลังสินค้าเป็น กระบวนการจัดการที่ซับซ้อนและสําคัญในห่วงโซ่อุปทาน โดยมีหน้าที่หลักในการจัดเก็บสินค้าและ วัสดุให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด เพื่อรองรับการผลิตและการจําหน่ายสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ การคลังสินค้ายังมีบทบาทสําคัญในการควบคุมปริมาณสินค้าคงคลัง ลดความเสี่ยงจากการขาดแคลน สินค้า และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการพื้นที่และควบคุมต้นทุน ซึ่งทั้งหมดนี้มีผลกระทบต่อ ความสําเร็จของธุรกิจและความพึงพอใจของลูกค้า
11.1.2 ความสาคัญของการคลังสินค้า (Importance of Warehousing)
อุตสาหกรรมและธุรกิจทุกประเภทที่ทําการผลิตและจําหน่ายสินค้าจําเป็นจะต้องมี การดําเนินงานด้านคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยในการควบคุมต้นทุนและมีสินค้าเพียงพอ สําหรับการให้บริการแก่ลูกค้า เป้าหมายหลักของการดําเนินธุรกิจคือการสร้างกําไร การจัดการจัดการ คลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพจึงสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับต้นทุนการคลังสินค้า ไม่ให้มี ค่าใช้จ่ายเกินความจําเป็นที่อาจส่งผลต่อการเพิ่มราคาจําหน่ายของสินค้า หรือกระทบต่อผลกําไรที่ ลดลง เนื่องจากต้นทุนที่เกิดจากการดําเนินงานมักจะส่งผลกระทบต่อยอดขายและผลกําไรของธุรกิจ เสมอ ดังนั้น การจัดการจัดการคลังสินค้ามีบทบาทสําคัญต่ออุตสาหกรรมและธุรกิจในหลายด้าน ดังนี้

























































































   244   245   246   247   248