Page 258 - Channels and Distribution Management
P. 258
248 การจััดการช่่องทางการจััดจัําหน่่ายและการกระจัายสิิน่ค้้า 248
1. คลังสินค้าทั่วไป (General Merchandise Warehouses)
คลังสินค้าทั่วไป ใช้จัดเก็บสินค้าทั่วไป เช่น เครื่องมือและสิ่งของสําหรับการอุปโภค บริโภคในชีวิตประจําวัน ซึ่งเหมาะสําหรับผู้ผลิตหรืออุตสาหกรรมสินค้าประเภทอุปโภคบริโภค
2. คลังสินค้าห้องเย็น (Storage Warehouses)
คลังสินค้าห้องเย็น เป็นคลังสินค้าที่อาศัยอุปกรณ์ทําความเย็นเพื่อควบคุมอุณหภูมิใน ระดับที่เหมาะสมต่อการรักษาความสดใหม่ของสินค้า ซึ่งเป็นการเก็บรักษาสินค้าที่ลักษณะของ การเน่าเสียง่าย หรือเสื่อมคุณภาพได้ง่าย เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรืออาหารทะเล ที่ต้องมีการ ควบคุมอุณหภูมิอย่างเหมาะสม คลังสินค้าห้องเย็นยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
1) คลังสินค้าพื้นที่เก็บเย็น (Cold Storage Warehouse) เป็นคลังสินค้าที่ใช้เก็บ รักษาคุณภาพของอาหารและสินค้าที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิ เช่น ผัก ผลไม้ ไข่ นม เนย ช็อคโกแลต เนื้อสัตว์ และอาหารทะเล โดยอุณหภูมิสําหรับสินค้าแช่เย็นอยู่ที่ 0 ถึง 4 องศาเซลเซียส และสินค้าที่ ต้องการแช่แข็งต่ํากว่า -18 องศาเซลเซียส เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาและคงคุณภาพของสินค้า
2) พื้นที่เก็บเยือกแข็ง (Freezing Storage) เป็นคลังสินค้าที่ใช้เก็บรักษาอาหารโดย การลดอุณหภูมิให้ต่ํากว่า -18 องศาเซลเซียส เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาและคงคุณภาพของอาหารใน ระยะยาว โดยกระบวนการแช่เยือกแข็งจะทําให้น้ําในอาหารเปลี่ยนเป็นน้ําแข็งช่วยชะลอ การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์และปฏิกิริยาทางเคมี ทําให้อาหารคงรูปร่าง รสชาติ และคุณค่าทาง โภชนาการได้ใกล้เคียงกับของสด
สินค้าที่เก็บในพื้นที่นี้ ได้แก่ ผักและผลไม้แช่แข็ง เช่น ถั่วลันเตา แครอท สตรอเบอร์รี อาหารทะเลแช่แข็ง เช่น กุ้ง ปลาหมึก ปลาแซลมอน เนื้อสัตว์แช่แข็ง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู ไก่ และ อาหารพร้อมรับประทาน เช่น ติ่มซํา พิซซ่า ซึ่งสามารถเก็บรักษาได้เป็นเวลานานหลายเดือนถึงหลายปี
3. คลังสินค้าอันตราย (Dangerous Goods Warehouses)
คลังสินค้าอันตราย เป็นคลังสินค้าที่ออกแบบและดําเนินการจัดเก็บสินค้าที่มีความเสี่ยง สูง เช่น สารเคมี สารพิษ วัตถุไวไฟ และวัตถุระเบิด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความปลอดภัย ของมนุษย์ รวมถึงสิ่งแวดล้อม การจัดเก็บในคลังสินค้าประเภทนี้จําเป็นต้องมีมาตรการความปลอดภัย ที่เข้มงวด เช่น การจําแนกประเภทสารอันตราย การแยกเก็บตามลักษณะความเสี่ยง การควบคุม อุณหภูมิ การระบายอากาศ การป้องกันการรั่วไหล และการป้องกันอัคคีภัย
คลังสินค้าอันตรายต้องดําเนินการตามกฎหมายและมาตรฐานความปลอดภัยที่กําหนด โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่ อาจเกิดขึ้นและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยคลังสินค้าต้องมีระบบการจัดการมลพิษและ การตรวจสอบความปลอดภัยอย่างสม่ําเสมอ