Page 275 - Channels and Distribution Management
P. 275
ใช้พื้นที่ได้ไม่เต็มที่หรือสูญเสียพื้นที่ว่างเปล่าเนื่องจากถ้าสินค้าบางชนิดมีความต้องการรับเข้าน้อยกว่า การกําหนดตําแหน่งพื้นที่ไว้ ส่งผลต่อการเหลือพื้นที่ว่างไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้และตรงกันข้ามถ้ามี สินค้าบางชนิดอาจรับเข้ามากกว่าการกําหนดตําแหน่งไว้พื้นที่เดิม ส่วนที่เพิ่มขึ้นก็ไม่สามารถไปจัดวาง ในตําแหน่งที่ว่างได้ ตัวอย่างเช่น ร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กําหนดพื้นที่ตายตัวสําหรับสินค้า ต่างๆ เช่น พื้นที่หนึ่งสําหรับทีวี พื้นที่อื่นสําหรับสมาร์ทโฟน และพื้นที่อีกแห่งสําหรับแท็บเล็ต ทําให้ พนักงานสามารถค้นหาสินค้าและจัดเก็บได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตารางที่ 12.5 ข้อดีและข้อเสียของระบบการจัดเก็บแบบกําหนดตําแหน่งตายตัว
ข้อดี
การค้นหาสินค้าง่าย: สินค้ามีการจัดเก็บ ในตําแหน่งที่แน่นอนทําให้พนักงาน สามารถค้นหาสินค้าได้อย่างรวดเร็ว การจัดการที่ชัดเจน:การกําหนด ตําแหน่งตายตัวช่วยให้การจัดก าร คลังสินค้าเป็นระบบและง่ายต่อการดูแล ลดความสับสน: พนักงานรู้ตําแหน่งของ สินค้าอย่างชัดเจน ทําให้ลดความสับสน ในการจัดเก็บและค้นหาสินค้า
ข้อเสีย
การใช้พื้นที่ไม่เต็มท่ี: หากมีพ้ืนท่ีท่ีกําหนดตายตัวสําหรับ สินค้าแต่ปริมาณสินค้าน้อย อาจเกิดพื้นท่ีว่างเปล่าที่ ไม่ได้ใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพ ไม่มีความยืดหยุ่น:หากปริมาณสินค้ามีการเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มข้ึน ระบบนี้อาจทําให้การจัดเก็บไม่ยืดหยุ่น เพียงพอ
การปรับเปลี่ยนยาก: เมื่อมีสินค้าชนิดใหม่เข้ามา หากไม่ มีพ้ืนท่ีที่กําหนดไว้ อาจต้องปรับเปล่ียนพื้นท่ีซึ่งซับซ้อน และใช้เวลา
4. ระบบการจัดเก็บโดยจัดเรียงตามรหัสสินค้า (Part Number System)
ระบบการจัดเก็บโดยจัดเรียงตามรหัสสินค้า เป็นรูปแบบการจัดเก็บสินค้าโดยระบุ หมายเลข หรือกําหนดรหัสสินค้าเป็นตัวเลขโดยจัดเก็บเรียงตามรหัสของสินค้า เช่น รหัส 112 จะถูก จัดเรียงก่อนรหัส 122 ซึ่งการกําหนดรหัสเป็นตัวเลขจะส่งผลต่อการรับรู้ของพนักงานมากกว่าการใช้ อักษร เช่น ระหว่าง M กับ P อักษรใดมากก่อนกันต่างจากการกําหนดรหัสเป็นตัวเลข ทําให้พนักงาน ทราบถึงตําแหน่งสินค้าได้ง่าย แต่ความยืดหยุ่นต่อการขยาย SKUทําได้อยากหรืออาจทําได้ต้องรื้อ ระบบใหม่ทั้งหมด
ดังนั้นการจัดเก็บโดยการจัดเรียงตามรหัสเหมาะสําหรับธุรกิจที่มีการจัดจําหน่าย หรือ ยอดขายที่ค่อนข้างคงที่ ตัวอย่างเช่นร้านจําหน่ายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อาจใช้ระบบจัดเก็บตาม รหัสสินค้า เช่น รหัส 100 สําหรับ CPU, รหัส 200 สําหรับหน่วยความจํา (RAM) และรหัส 300 สําหรับฮาร์ดไดรฟ์ ทําให้พนักงานสามารถค้นหาและจัดเก็บสินค้าได้อย่างรวดเร็ว
Channels and Distribution Management 265