Page 202 - Tsubomi
P. 202
ชุมชนพระบาทห้วยต้ม อําาเภอลี้ จังหวัดลําาพูน
ชุมชนพระบาทห้วยต้ม ตาบลนาทราย อาเภอล้ี จังหวัดลาพูน จัดต้ังข้ึนอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 251๔ จากการต้ังรกรากของชาวกะเหร่ียงปว่าเก่อญอ และชาวกะเหร่ียงโป จากจังหวัดตาก จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด และย้ายถ่ินฐานตามหลวงปู่ครูบาวงศ์ เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นท่ีแห่งนี้
นอกจากจะเป็นผู้นาชุมชนแล้ว หลวงปู่ครูบาวงศ์ยังเป็นต้นแบบของชาวกะเหร่ียงในชุมชน โดยเฉพาะด้านวิถีชีวิต เมื่อแรกต้ังชุมชน ชาวบ้านก่อสร้าง บ้านเรือนแบบเรือนเครื่องผูก สร้างด้วยไม้ไผ่ ฝาบ้านเอียงต้านลม และมีควันจากเตาไฟในบ้านช่วยป้องกันปลวกและแมลง ซ่ึงเป็นภูมิปัญญาด้ังเดิม และภายใต้ช่ือ “ปว่าเก่อญอ” ซ่ึงหมายถึง คนท่ีเรียบง่าย สมถะ ชาวบ้านท่ีน่ีดาเนินชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด ไม่เบียดเบียนผู้อ่ืน ทานมังสวิรัติ ไม่บริโภค เน้ือสัตว์ ไม่เลี้ยงสัตว์เพ่ือจาหน่าย และไม่ฆ่าสัตว์เพ่ือบูชายัญ
การแต่งกายของชาวปว่าเก่อญอก็สะท้อนถึงวัฒนธรรม ความเช่ือ นิสัยใจคอของชนเผ่านี้ โดยผู้ชายจะใส่เส้ือและโสร่ง หญิงที่ยังไม่แต่งงานสวมชุดยาวสีขาว หญิงที่ แต่งงานแล้วจะสวมเส้ือและผ้าถุง ลักษณะเด่นของเสื้อ ท่ีมีด้านหน้าและด้านหลังเหมือนกัน แสดงถึงความจริงใจต่อผู้อื่นท้ังต่อหน้าและลับหลัง ส่วนสีขาว แสดงถึง ความบริสุทธ์ิ
เดิมชุมชนพระบาทห้วยต้มอยู่ในพ้ืนที่อุทยาน ใน พ.ศ. 2518 – 2533 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานพื้นที่ให้ชาวกะเหร่ียง และจัดต้ัง ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงพระบาทห้วยต้ม ตาบลนาทราย อาเภอล้ี จังหวัดลาพูน เป็นผู้ขับเคล่ือนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดในพื้นที่ โดยสนับสนุนให้ชุมชน ช่วยกันดูแลป่าไม้ สร้างอ่างเก็บนา้ ส่งเสริมการทาสวนและไร่นาสวนผสม แปลงเกษตรม่วงพันธุ์ต่างประเทศ แปลงสาธิตพืชผักสมุนไพร สถานท่ีพัก รวมทั้งกลุ่ม ตีเหล็ก กลุ่มทอผ้าด้วยกี่เอว และกลุ่มหัตถกรรมเคร่ืองเงิน ท่ีสะท้อนตัวตนของชาวกะเหรี่ยงได้อย่างชัดเจน
ชาวกะเหรี่ยงในชุมชนพระบาทห้วยต้ม มีความเชี่ยวชาญเรื่องการทาเครื่องเงิน โดยออกแบบเป็นสร้อยคอ กาไล แหวน และต่างหู พร้อมออกแบบลวดลายเอง ท้ังลายด้ังเดิมที่จาลองมาจากธรรมชาติรอบตัว เช่น ลายดอกไม้ ลายแมลง ลายปลา และลายแฟชั่นต่างๆ นอกจากน้ี ยังมีการนาผ้าทอมือมาประยุกต์ให้เป็น ผลิตภัณฑ์หลากรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นผ้าซ่ินลายกะเหรี่ยง ถุงย่าม ผ้าปูโต๊ะ เสื้อเย็บด้วยมือ ซ่ึงสะท้อนตัวตนและวิถีชีวิตของชุมชนได้อย่างเด่นชัด
198 Tsubomi