Page 246 - Tsubomi
P. 246
บ้านดอกบัว อําาเภอเมือง จังหวัดพะเยา
บ้านดอกบัวเป็นหน่ึงในชุมชนชาวล้านนาที่ยังคงใช้ภาษาท้องถ่ิน หรือภาษาคาเมืองในการติดต่อสื่อสาร มีการพึ่งพาอาศัยซ่ึงกันและกันแบบเครือญาติ ประกอบ อาชีพเกษตรกรรมมีกิจกรรมหลากหลาย เช่น การทานา ทาสวน การสานเข่ง สานสุ่มไก่ การจักสานผักตบชวา การเลี้ยงสัตว์ การปลูกหญ้าอาหารสัตว์ ส่วนด้าน ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและความเชื่อเหมือนกับคนล้านนาทั่วไป
ชาวบ้านดอกบัวมีความสามารถในการจักสาน โดยผลิตภัณฑ์จักสานท่ีโดดเด่นก็ได้แก่ เข่งไม้ไผ่ และผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา ซ่ึงพืชท้ังสองชนิดนี้สามารถพบได้ ในชุมชน รวมท้ังมีการปลูกไผ่รวกประมาณ 700 ไร่ เพ่ือใช้ในการสานเข่ง และมีการปลูกทดแทนตลอดเวลา ทาให้มีวัตถุดิบสาหรับการจักสานเข่งได้ตลอด ทาให้ คนในชุมชนนิยมทางานจักสานมากกว่าอพยพออกไปทางานนอกพื้นท่ี ทักษะในการจักสาน บวกกับทรัพยากรธรรมชาติท่ีมีอยู่อย่างสมบูรณ์ในท้องถิ่น ทาให้งาน จักสานกลายเป็นอาชีพเสริมที่สร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้านในชุมชน สามารถส่งออกไปขายในหลายพ้ืนท่ีทั้งในจังหวัดพะเยา และต่างจังหวัด ทาให้มีรายได้เลี้ยง ตัวเองอย่างต่อเน่ืองและย่ังยืน
ความโดดเด่นอีกอย่างของชุมชนบ้านดอกบัว คือการจัดตั้งโฮมสเตย์และศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง โดยการนาเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมา ใช้ในชีวิตประจาวัน และดาเนินงานเก่ียวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงผ่านกลุ่มกิจกรรมต่างๆ เช่น กลุ่มการเกษตร ซ่ึงส่งเสริมการทาปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ และก๊าซ หุงต้มชีวภาพ จากมูลวัว เพ่ือทดแทนการใช้ปุ๋ยและสารเคมีในการทานา ส่งผลให้สภาพดินดีและอุดมสมบูรณ์จนสามารถทานาได้ตลอด มีการส่งเสริมให้ชาวบ้าน หันมาใช้วิธีเอามื้อ หรือลงแขกทานา เพื่อลดรายจ่ายด้านแรงงานในการทานา โดยคนที่มาลงแขกหรือเอาม้ือจะห่อข้าวมาร่วมรับประทานโดยท่ีเจ้าของแปลงไม่ต้อง ทาอาหารหรือเครื่องดื่มเล้ียง ทั้งยังสร้างความสามัคคีให้แก่คนในชุมชนด้วย
242 Tsubomi