Page 180 - TSUBOMI
P. 180
โครงการหลวงขุนวาง อําาเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
โครงการหลวงขุนวางเป็นพื้นท่ีมีความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธ์ุประกอบด้วย คนพ้ืนราบ (คนเมือง) ชาวกะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) และชาวม้ง ทาให้มีประเพณี และวัฒนธรรมที่หลากหลาย ผสมกลมกลืนกันและอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข โดยยังคงเอกลักษณ์ของในด้านการใช้ภาษาและประเพณีการแต่งกายของตนเองไว้ได้ อย่างดี
เนื่องจากในอดีต ชุมชนในบริเวณน้ีนิยมปลูกฝิ่น ซึ่งเป็นพืชเสพติด ดังน้ัน ใน พ.ศ. 2525 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จึงเสด็จพระราชดาเนินไปยัง บ้านขุนวาง และทรงมีพระราชดาริให้หน่วยงานในพ้ืนที่ช่วยกันพิจารณาปรับปรุงและพัฒนาชุมชน โดยส่งเสริมการปลูกพืชชนิดอ่ืนท่ีมีรายได้ทัดเทียมหรือดีกว่า ปลูกฝ่ิน นาโดยมูลนิธิโครงการหลวง ซ่ึงเป็นหน่วยงานท่ีมีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านอาชีพของชาวไทยภูเขาในเขตภาคเหนือตอนบน ปัจจุบันศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง มีพื้นท่ีรับผิดชอบดาเนินงาน 1,๖52.7๖ ไร่ ครอบคลุม 7 หมู่บ้าน ประชากรที่ได้รับการพัฒนาและส่งเสริม จานวน 380 ครัวเรือน 2,005 คน กิจกรรมที่ทาการส่งเสริมเกษตรกร ประกอบด้วย การปลูกผัก ผลไม้ และดอกไม้เมืองหนาวและนอกจากพืชผักต่างๆ แล้ว ชาวม้งท่ีอาศัยอยู่ ในพ้ืนท่ีโครงการหลวงขุนวาง ยังได้รับการสนับสนุนให้ปลูก “กัญชง” พืชตระกูลเดียวกับกัญชาแต่มีสารเสพติดน้อยกว่า เป็นพืชที่อยู่ในวิถีชีวิตของชาวม้งมานาน กว่า 3,000 ปี เส้นใยกัญชงในวัฒนธรรมชาวม้ง เป็นอีกหน่ึงวัสดุในการทอผืนผ้า และนามาตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าสาหรับใช้ในพิธีกรรมหรือใช้สวมใส่ในชีวิตประจาวัน นับตั้งแต่เมื่อคร้ังบรรพบุรุษอาศัยอยู่ในประเทศจีน โดยในการเพาะปลูกกัญชง จะใช้เมล็ด และใช้เวลาในการเจริญเติบโตนานประมาณ ๖ เดือน เมื่อเติบโต เต็มท่ีแล้ว ชาวบ้านจะนาต้นตัวผู้ไปตากแห้งและแปรรูปเป็นเส้นใย ในขณะท่ีต้นตัวเมีย จะเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้สาหรับเพาะปลูกต่อไป
176 Tsubomi