Page 277 - student manual 2020
P. 277

๒๗๐ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
หมวด ๔ ชุมนุม
ข้อ ๒๒ การจัดกิจกรรมที่นักศึกษามีความสนใจเฉพาะกลุ่มให้ทาในรูปแบบของชุมนุม ตามความสนใจของ นักศึกษา ซึ่งประกอบไปด้วยชุมนุมด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
(๑) ชุมนุมด้านกีฬาและนันทนาการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกีฬา วิธีการเล่นกีฬาที่ ถูกต้อง เหมาะสมสาหรับประเภทกีฬา ปลูกฝังการมีน้าใจนักกีฬา ส่งเสริมการเล่นกีฬาเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ และสร้าง ชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย
(๒) ชุมนุมด้านศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมพัฒนา และก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ทางด้านศิลปะให้แก่นักศึกษาเพื่อให้เกิดความสุนทรียภาพโดยทั่วไปและสามารถนาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ รวมถึง ฟื้นฟู อนุรักษ์ เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีไทยให้แก่นักศึกษา ส่งเสริมความเข้าใจความแตกต่าง ทางวัฒนธรรม ส่งเสริมการเรียนรู้วัฒนธรรมนานาชาติ ปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้องบนพื้นฐานความเป็นไทย
(๓) ชุมนุมด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและบาเพ็ญประโยชน์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม และปลูกฝังให้ นักศึกษาเห็นคุณค่าในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการพัฒนา และบาเพ็ญประโยชน์ในด้านใด ด้านหนึ่ง รวมถึงการบริการวิชาการ ส่งเสริม และปลูกฝังความสานึก รับผิดชอบต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติ
(๔) ชุมนุมด้านวิชาการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะ ความรู้ และความคิดทางด้าน วิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปกรรม ให้แก่นักศึกษาหรือบุคคลทั่วไป สามารถนาไปประยุกต์ใช้ใน ชีวิตจริงได้ รวมถึงก่อให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรม องค์ความรู้ใหม่ และสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย
ข้อ ๒๓ การจัดตั้งชุมนุม การดาเนินกิจกรรมและการยุบเลิกชุมนุมให้เป็นไปโดยความเห็นชอบของคณบดี
ข้อ ๒๔ ให้คณะกรรมการชุมนุมแต่ละชุมนุม เสนอชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาต่อคณบดีผ่านรองคณบดี ภายในเดือน กรกฎาคมของทุกปี เพื่อแต่งตั้งอาจารย์ ข้าราชการ หรือพนักงานมหาวิทยาลัยเป็นที่ปรึกษาตามความเหมาะสม โดยทา หน้าที่ให้คาปรึกษา แนะนา และกากับดูแลการปฏิบัติงานเพื่อให้กิจกรรมของนักศึกษาดาเนินไปด้วยความเรียบร้อย
ข้อ ๒๕ สมาชิกของชุมนุม ได้แก่ นักศึกษา ซึ่งสนใจเข้าร่วมกิจกรรมและได้ขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกของชุมนุมนั้น ๆ
ข้อ ๒๖ ในชุมนุมให้มีคณะกรรมการชุดหนึ่ง ประกอบด้วย ประธาน ๑ คน รองประธาน ๑ คน เลขานุการ ๑ คน เหรัญญิก ๑ คน กรรมการ ๒ คน และอาจารย์ที่ปรึกษา ๑ คน ซึ่งสมาชิกชุมนุมเป็นผู้เลือก โดยให้ดาเนินการเลือก คณะกรรมการชุมนุมในช่วงเปิดทาการของปีการศึกษา จากนั้นให้ผู้ที่ได้รับเลือกเป็นประธานชุมนุม เสนอชื่อ คณะกรรมการชุมนุมต่อสโมสรนักศึกษา เพื่อให้รองคณบดีพิจารณาดาเนินการเสนอต่อคณบดีพิจารณา เพื่อมีคาสั่ง แต่งตั้งต่อไป
ให้คณะกรรมการชุมนุม อยู่ในตาแหน่งคราวละหนึ่งปี กาหนดตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม จนถึงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ของปีถัดไป และให้รักษาการอยู่ในตาแหน่งจนกว่าจะมีคณะกรรมการชุมนุมชุดใหม่เข้ารับหน้าที่แทน
อนึ่ง กรณีชุมนุมไม่สามารถหาที่ปรึกษาชุมนุมได้ ให้รองคณบดีหรืออาจารย์ที่เป็นคณะกรรมการฝุายกิจการ นักศึกษาคนใดคนหนึ่งทาหน้าที่เป็นที่ปรึกษาชุมนุมก่อนได้ เพื่อให้การจัดตั้งชุมนุมสามารถดาเนินการได้ตามปกติ
ข้อ ๒๗ อานาจหน้าที่ของคณะกรรมการชุมนุม มีดังนี้
(๑) บริหารงานทั่วไปให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของชุมนุม
(๒) กาหนดนโยบาย จัดทาแผนงาน โครงงานและงบประมาณประจาปีของชุมนุมเสนอต่อคณะกรรมการ
สโมสรนักศึกษา
(๓) ออกข้อปฏิบัติของชุมนุมโดยความเห็นชอบของที่ปรึกษาชุมนุมนั้น ทั้งนี้ต้องไม่ขัดกับประกาศของคณะ
ศิลปศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกิจการนั้น และนโยบายของมหาวิทยาลัย
(๔) จัดทารายงานประเมินผลการดาเนินกิจกรรมในรอบปี เสนอสโมสรนักศึกษาเมื่อครบวาระ
(๕) พิจารณาและมีมติให้สมาชิกชุมนุมระงับการใช้สิทธิ หรือให้ถอนชื่อออกจากการเป็นสมาชิกของชุมนุม
กรณีที่มีการกระทาผิดข้อปฏิบัติของชุมนุมหรือนาความเสื่อมเสียมาสู่ชุมนุม โดยมติดังกล่าวต้องได้รับคะแนนเสียงไม่ น้อยกว่าสองในสามของคณะกรรมการชุมนุมทั้งหมด
(๖) รับผิดชอบ ดูแลรักษาเอกสารและวัสดุอุปกรณ์ของชุมนุม












































































   275   276   277   278   279