Page 10 - คู่มือการประกอบวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางวิศวกรรม
P. 10
2.1 หลักการของกรอบความสามารถการประกอบวิชาชีพ
ความสามารถการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมอาจจําเป็นที่จะต้องท่ีมีการปลูกฝังต้ังแต่เยาว์วัยจากพื้นฐาน การศึกษา ความรู้วิชาการจากสถาบันการศึกษา และความรู้วิชาชีพจากสถาบันวิชาชีพของการประกอบวิชาชีพ อนึ่งเมื่อเข้าสู่ขบวนการของการประกอบวิชาชีพจะต้องเพิ่มพูนความรู้ เสริมสร้างความรู้ความชํานาญและ ประสบการณ์ พัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องจนประสบความสําเร็จและความพึงพอใจในการให้บริการวิชาชีพ ด้วยความคิดสร้างสรรค์ สร้างนวัตกรรม และสร้างผลงานท่ีเด่นชัดรวมถึงการสร้างเสริมผลงานที่โดดเด่นเป็นท่ี ประจักษ์ในเชิงวิชาชีพวิศกรรมซึ่งความรู้ความสามารถทางวิศวกรรมซึ่งประกอบด้วยความสามารถในการ ปฏิบัติวิชาชีพ (Practical Competence) ความสามารถเชิงพฤติกรรม (Behavioral Competence) และ
ความสามารถในบริบทท่ีเกี่ยวข้อง (Contextual Competence)
แผนภูมิภาพที่ 1 หลักการของความสามารถทางวิศวกรรม
หลักการของความสามารถทางวิศวกรรมตามท่ีแสดงในแผนภูมิซ่ึงอาจเริ่มพิจารณาจากการเรียนการสอน ทางวิศวกรรมในสถาบันการศึกษาโดยหวังผลสัมฤทธ์ิจากบัณฑิตพึงประสงค์ (Graduate Attributes) ทั้งสายช่าง
อาชีวะศึกษาหรือเทคโนโลยีและสายปริญญาทางวิศวกรรมที่ควรจะสอดรับและสืบทอดกรอบความสามารถการ ประกอบวิชาชีพ (Professional Competence Framework) เข้าสู่ขบวนการของการเสริมสร้างศักยภาพ
ความสามารถ (Capacity Building) การให้บริการวิชาชีพทส่ี อดคล้องกับมาตฐานสากลได้อย่างกลมกลืน
กรอบความสามารถการประกอบวิชาชีพของสภาวิศวกรกําหนดไว้ 4 ด้าน คือ (1) ความรู้วิศวกรรมและ เทคโนโลยี (2) ความรู้ความชํานาญการประกอบวิชาชีพ (3) การเป็นผู้นําการประกอบวิชาชีพ และ (4) ความตระหนักรับผิดชอบวิชาชีพต่อสังคมและสาธารณะ ทั้งน้ี กลไกการประกอบวิชาชีพตามครรลองของ
คู่มือการประกอบวิชาชีพเพื่อเสรมิสร้างความสามารถทางวิศวกรรม Document Number: 01/2022
Date: 08-08-2022
หน้า|5