Page 1 - โรงเรียนมหาวชิราวุธ
P. 1
ข้อมูลทั่วไป
ประวัติความเป็นมาของโรงเรียนมหาวชิราวุธ
ผู้ก่อตั้งโรงเรียนนี้คือ มหาอ ามาตย์นายก เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) อดีตผู้ส าเร็จราชการแทน
พระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล, อดีตอภิรัฐมนตรี, อดีตเสนาบดีกระทรวงนครบาล,
อดีตเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ ซึ่งท่านเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง การประปานครหลวง การไฟฟ้ามหานคร
ถนนและสะพานในกรุงเทพมหานครเกือบทั้งหมด
ในสมัยนั้น เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ยังด ารงต าแหน่งเป็น พระยาสุขุมนัยวินิต ข้าหลวง
เทศาภิบาลส าเร็จการมณฑลนครศรีธรรมราช ท่านเป็นผู้ที่รักและสนใจในเรื่องการศึกษามาก เนื่องจากเคยเป็น
พระอาจารย์ถวายวิชาพระเจ้าลูกยาเธอฯ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลายพระองค์ เช่น
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
รพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม กรมหลวงปรา
จิณกิติบดี, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์, พระเจ้าบรม
วงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดชเป็นต้น โดยท่านเริ่มจัดตั้งโรงเรียนชั่วคราว
ขึ้นก่อนที่ ศาลาการเปรียญวัดดอนแย้ ต าบลบ่อยาง อ าเภอเมือง จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.
2439มีนักเรียนจ านวน 12 คน
ครั้นถึงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2439 พระยาสุขุมนัยวินิต และ พระยาวิเชียรศีรี (ชม ณ สงขลา) ผู้ว่า
ราชการเมืองสงขลา ขณะนั้น ร่วมจัดงานเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ
สยามกุฎราชกุมาร พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็นการพิเศษ ในโอกาสนี้พระยาสุขุมนัยวินิต
ได้อัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ซึ่งได้รับพระราชทานมาแต่ประเทศอังกฤษ
ประดิษฐานไว้บนแท่นบูชาเพื่อให้ข้าราชการพ่อค้าประชาชมชาวสงขลาได้เคารพสักการะและถวายพระพรชัย
อาศัยโอกาสอันเป็นมหามงคลนี้ พระยาสุขุมนัยวินิต ได้จัดให้มีการเรี่ยไรเงินเพื่อสร้างโรงเรียนที่เป็นหลักฐาน
ขึ้น โดยมีโครงการจะสร้างที่บริเวณวัดนาถม (บริเวณโรงเรียนวิเชียรชมในปัจจุบัน) ซึ่งมี ชัยภูมิและมีบริเวณ
กว้างขวาง (19 ไร่ 45.7 ตารางวา) ได้เงินมา 3,940 บาท เนื่องจากเจ้าพระยายมราชเล็งเห็นว่า สถานที่เรียน
ในวัดมัชฌิมาวาส ไม่กว้างขวางพอที่จะขยับขยายเป็นโรงเรียนหลวงขนาดใหญ่ในอนาคตได้ ควรจะมีอาคาร
เรียนและบริเวณที่กว้างขวางกว่า คือที่วัดนาถมตามที่วางโครงการไว้แต่เดิม ฉะนั้นในปี พ.ศ. 2447 จึงจัดการ
เรี่ยไรเงินสมทบทุนอีกครั้งหนึ่งสร้างอาคารที่วัดนาถม ส าเร็จในปี 2448 แต่ในปลายปี 2447 สถานีต ารวจภูธร