Page 119 - Demo
P. 119

3.2 การทรุดตัวทันทีทันใดหรอืการทรุดตัวอีลาสติก(ImmediatelySettlementor Elastic Settlement)
การทรุดตัวทันทีทันใดหรือการทรุดตัวอีลาสติกน้ีส่วนใหญ่เกิดขึ้นในดินเม็ดหยาบ (Granular Soil) ซึ่งจะ เกิดจากการไหลซึมออกของนํ้าในช่องว่างระหว่างเม็ดดินเม่ือมีนํ้าหนักบรรทุกมากระทํา แต่เน่ืองจากดิน เม็ดหยาบมีค่าสัมประสิทธิ์ของการซึมนํ้า (k) สูง ทําให้น้ําไหลออกได้อย่างรวดเร็วและดินเกิดการทรุด ตัวอย่างรวดเร็ว ในขณะท่ีดินเหนียวนั้นมีค่าค่าสัมประสิทธ์ิของการซึมนํ้า (k) ต่ํา ทําให้นํ้าไหลออกได้ อย่างช้าๆ ทําให้การทรุดตัวท่ีแบบทันทีทันใดในแนวดิ่งมีค่าน้อยกว่าการทรุดตัวแบบอัดตัวคายน้ํามาก (หรือแทบจะไม่เกิดข้ึนเลย) แต่อย่างไรก็ตามการทรุดตัวทันทีทันใดในแนวด่ิงของดินเหนียวนั้น เกิดข้ึนได้ ในกรณีที่ดินเหนียวมีการเคล่ือนที่ทางด้านข้าง ทําให้เกิดการทรุดตัวในแนวดิ่งแบบทันทีทันใด ซึ่งจะ เกิดข้ึนในกรณีการถมดินหรือการขุดดิน วิธีการที่ใช้ในการประมาณหาค่าการทรุดตัวแบบทันทันใดน้ัน จะอาศัยทฤษฎีอีลาสติกและวิธีการคาดคะเนผลการทดสอบในสนามได้แก่ การทดสอบทะลุทะลวง มาตรฐาน (Standard Penetration Test, SPT) การทดสอบด้วยหัวกดปลายกรวย (Cone Penetration Test, CPT) และการทดสอบกําลังรับนํ้าหนักบรรทุกของดินโดยใช้แผ่นเหล็ก (Plate Bearing Test, PBT)
3.2.1 การทรุดตัวทันทีทันใดสําหรับดินเหนียวท่ีอ่ิมตัวด้วยนํ้า
Janbu et al. (1956) ได้เสนอสมการสําหรับคาดคะเนการทรุดตัวแบบทันทันใดของดินเหนียวท่ีอ่ิมตัว ด้วยน้ํา ดังแสดงในสมการที่ 3.1 โดยตัวแปรในสมการที่ 3.1 ได้อธิบายในรูปที่ 3.1 อัตราส่วนปัวร์ซอง
(Poisson Ratio, μs) ดินเหนียวที่อ่ิมตัวด้วยน้ําของมีค่าเท่ากับ 0.5 Se = A1A2 qoB
(3.1)
โดย
Es
การทรุดตัวอีลาสติก (Elastic Settlement), m ความเค้นประสิทธิผลสุทธิท่ีกระทํากับฐานราก ดังแสดงในรูปท่ี 3.1ก ความกว้างของฐานราก ดังแสดงในรูปที่ 3.1ก
Se = qo = B =
A1 =
A2 =
Es =
ตัวแปรที่ข้ึนอยู่กับอัตราส่วน BL และ HB ดังแสดงในรูปที่ 3.1ข เป็นฟังค์ชั่นของ Df ดังแสดงในรูปท่ี 3.1ค
B
โมดูลัสความยืดหยุ่นของดินเหนียว ซึ่งอาจหาได้จากสมการที่ 3.2
Es =βcu 110
(3.2)
  
















































































   117   118   119   120   121