Page 295 - Demo
P. 295

       6.4 แรงดันดินด้านข้างเชิงรับ(PassiveEarthPressure)
ดินในสภาพเชิงรับคือดินในสภาวะวิบัติเนื่องมาจากแรงดันดินด้านข้างมีค่าสูงขึ้นมากกว่าความเค้น
ในแนวดิ่ง ส่งผลให้กําแพงเกิดการเคลื่อนที่ (∆x) ไปกระทํากับดินที่อยู่ดเนหลัง โดยการคํานวณหาค่า แรงดันดินด้านข้างเชิงรับ นี้ มี 2 ทฤษฎี ได้แก่ทฤษฎีของ Rankine และทฤษฎีของ Coulomb
6.4.1 ทฤษฎีของRankine
เช่นเดียวกันกับสมมติฐานของแรงดันดินด้านข้างเชิงรุก กล่าวคือทฤษฎีของRankine สมมติฐาน ให้พื้นผิวสัมผัสระหว่างดินกับกําแพงเป็นพื้นผิวลื่น (Frictionless) ณ สภาวะที่ไม่เกิดการวิบัติความเค้น
ประสิทธิผลในแนวดิ่ง(σ′o)มีค่าเท่ากับγ′zความเค้นในแนวนอน (σ′h)ท่ีระกับความลึกzใดๆ มีค่าเท่ากับ K σ′ เมื่อเขียนวงกลม Mohr’s ซึ่งแสดงถึงความเค้นในแนวดิ่งและแนวนอนของดิน
oo
ด้านหลังกําแพง ดังแสดงในรูปที่ 6.12 โดยวงกลม ก แสดงถึงความเค้นในแนวดิ่ง (σ′o) และความเค้น
ในแนวนอน (σ′h) ของดินหลังกําแพงที่ไม่เกิดการเคลื่อนที่ ∆x = 0 เม่ือมีแรงกระทํากับกําแพง ทําให้กําแพงเคลื่อนที่ ∆x ไปดันดินด้านหลังกําแพง ทําให้ความเค้นในแนวนอนเพิ่มขึ้น ดังแสดง
ในวงกลม ข และเมื่อค่าแรงดันด้านข้างก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ระยะ ∆x ก็มีค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจุด วิบัติ ซึ่งวงกลม Mohr’s จะสัมผัสกับระนาบวิบัติดังแสดงในรูปวงกลม ค โดยแรงดันดินด้านข้างจะมี
  286
 























































































   293   294   295   296   297