Page 344 - Demo
P. 344

8.3 กําแพงเข็มพืดแบบยื่น(CantileverSheetPileWalls)
โดยทั่วไปกําแพงเข็มพืดแบบยื่น (Cantilever Sheet Pile Walls) เหมาะสําหรับงานถมดินหรือขุดดิน ที่มีความสูงปานกลาง - ประมาณ 6 เมตรหรือน้อยกว่าโดยวัดจากเส้นระดับดินขุด กําแพงเข็มพืดแบบ ยื่นในส่วนเหนือแนวขุดมีพฤติกรรมแบบเดียวกันกับคานยื่น ซึ่งการกระจายแรงดันด้านข้างสุทธิที่กระทํา กับกําแพงเข็มพืดแบบยื่น แสดงในรูปที่ 8.3 โดยจากรูปจะเห็นได้ว่ากําแพงเข็มพืดมีหมุนที่จุด O และ ระดับน้ําทั้งสองด้านเท่ากัน ดังนั้นแรงดันน้ําที่กระทํากับกําแพงเข็มพืดจึงหักล้างกันไป ทําให้กําแพงเข็ม พืดจะมีแต่แรงดันดินด้านข้าง (Lateral Earth Pressure) กระทําเท่านั้น รูปที่ 8.3ก แสดงถึงแรงดัน ด้านข้างที่กระทํากับกําแพงเข็มพืด โดนในโซน A จะมีแรงดันดินด้านข้างเชิงรุกของดินถมกระทํากับ กําแพงเข็มพืดเท่านั้นแรงดันด้านข้างที่กระทํากับกําแพงในโซนB นั้นเกิดแรงดันดินด้านข้างเชิงรุก ในฝั่งดินถมและเกิดแรงดันดินด้านข้างเชิงรับในฝั่งน้ํา เนื่องจากการเคลื่อนตัวของกําแพงเข็มพืด ในขณะ ที่สภาพแรงดันดินในโซน C ซึ่งใต้จุดหมุน O จะสลับกับกับโซน B ดังแสดงในรูปที่ 8.3ข การกระจาย แรงดันด้านข้างสุทธิที่แท้จริงบนกําแพงเข็มพืดซึ่งใช้ในการออกแบบแสดงในรูปที่ 8.3ค
(ก) (ข)
(ค) (ง)
รูปที่ 8.2 ขั้นตอนการก่อสร้างกําแพงเข็มพืดแบบมีสมอยึดรั้งสําหรับโครงสร้างของดินขุด (Das 2011)
          335
 




























































































   342   343   344   345   346