Page 61 - Demo
P. 61
2.3 ทฤษฎีกําลังรับน้ําหนักบรรทุกประลัย(BearingCapacity)
2.3.1 ทฤษฎีกําลังรับน้ําหนักบรรทุกประลัยของ Terzaghi (Terzaghi’s Bearing Capacity)
Terzaghi(1943) ได้นําเสนอทฤษฎีในการประเมินกําลังรับน้ําหนักบรรทุกประลัยของฐานรากตื้น โดยทฤษฎีของเทอซากินี้ได้ให้นิยามฐานรากตื้นหมายถึงฐานรากที่ฝังอยู่ในดินน้อยกว่าหรือเท่ากับสอง เท่าของความกว้างของฐานราก (Df ≤ 2B) ดังแสดงในรูปที่ 2.7 ในภายหลังได้มีนักวิจัยกล่าวว่าฐาน รากที่มีระยะฝั่งอยู่ในดิน (Df) มีค่าเท่ากับ 3 ถึง 4 เท่าของความกว้างอาจถือว่าเป็นฐานรากตื้นได้ เช่นกัน
Terzaghi (1943) ได้แนะนําว่าฐานรากต่อเนื่อง (Continuous Foundation) หรือฐานรากแบบแถบ (Strip Foundation) ลักษณะการวิบัติได้สมมติให้มีลักษณะดังแสดงในรูปที่ 2.7 โดยอิทธิพลของดินที่
อยู่เหนือฐานรากได้ถูกสมมติให้ถูกแทนที่ด้วยน้ําหนักที่กระทําแบบสมมูล (q) โดย q = γ.Df เมื่อ γ คือหน่วยน้ําหนักของดินที่อยู่เหนือฐานราก แนววิบัติของฐานรากได้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังแสดงใน รูปที่ 2.7
1. โซนรูปสามเหลี่ยม ACD ซึ่งอยู่ใต้ฐานรากแบบจะเกิดการวิบัติแบบทันทีทันใด โดยมุมของ
สามเหลี่ยม CAD และ ACD มีค่าเท่ากับมุมเสียดทานประสิทธิผลของดิน (φ)
2. โซนการตัดเฉือนแบบเรเดียล ADF และ CDE มีเส้นโค้ง DE และ DF เป็นเส้นโค้งก้นหอยแบบ
ลอการิทึม (Logarithmic Spiral)
3. โซนสามเหลี่ยม AFH และ CEG เป็นโซนที่ดินถูกแรงดันดินด้านข้างกระทําตามแนวคิดของ
Rakine (Rakine Passive) ซึ่งการที่ดินด้านบนฐานรากที่ถูกแทนที่ด้วยน้ําหนักที่กระทําแบบ สมมูล (q) นั้น ทําให้ระนาบการวิบัติในแนว GI และ HJ ดังแสดงในรูป 2.7 ไม่ถูกนํามาคิด
รูปที่ 2.7 ลักษณะการวิบัติของดินใต้ฐานรากต่อเนื่องแบบแข็งแกร่ง (Das 2011)
52