Page 101 - อนุสาร อสท. ฉบับเดือนเมษายน ๒๕๖๓
P. 101

  ๒
ภาพแรก ผมลองหามุมถ่ายคล่ืนลูกใหญ่ ๆ ท่ีซัดเข้ามา หาฝง่ั ตรงบรเิ วณทเี่ ปน็ หาดทราย แลว้ กจ็ ะสลายหายไป แตถ่ า้ เป็นบริเวณท่ีเป็นกลุ่มหิน หรือเข่ือนกั้นที่เขาสร้างไว้กันคล่ืน เราก็จะได้เห็นความรุนแรงของคล่ืนแต่ละลูก เป็นภาพที่ ดูน่าต่ืนเต้น ด้วยสภาพแสงที่ค่อนข้างแรง ผมจึงเลือกใช้ ความไวชัตเตอร์ค่อนข้างสูง เพ่ือหยุดความเคล่ือนไหวและ ได้รูปทรงของคลื่นท่ีซัดเข้ามา
ภาพทสี่ องเปน็ ภาพบรรยากาศยามเยน็ หลงั พระอาทติ ยต์ ก เปน็ ภาพคลน่ื ซดั เขา้ หากลมุ่ หนิ ดว้ ยสภาพแสงทคี่ อ่ นขา้ งนอ้ ย ทําให้ต้องใช้ความไวชัตเตอร์ต่ําไปโดยอัตโนมัติ ภาพก็จะ ออกนุ่ม ๆ ดูสบายตา ได้อารมณ์ไปอีกแบบ แตกต่างจาก ภาพแรก
ครับ การออกไปถ่ายภาพในแต่ละคร้ังคงต้องใช้คําว่า ในสภาพอากาศที่เปล่ียนแปลงไปมาของธรรมชาติ เราเอง ก็คงต้องปรับไปตามสภาพ ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง ปรับแก้กันไป เพื่อให้ได้ภาพท่ีดีนั่นเอง
 ข้อมูลบันทึกภาพ
ภาพ ๑ สายคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาสันเขื่อนชายทะเลทคี่ อ่ นขา้ งแรง รอจงั หวะกดชตั เตอรใ์ นขณะทนี่ าํ้ พงุ่ กระเดน็ ขนึ้ สงู หาดพยูน จังหวัดระยอง
บันทึกภาพด้วยกล้อง Nikon D810 เลนส์ AF-S Nikkor 24-120 mm f/4G ED VR ช่องรับแสง ๑๓ ความไวชัตเตอร์ ๑/๖๔๐ วินาที สวมฟิลเตอร์ PL
ตั้งค่าความไวแสงที่ ๘๐๐ ISO
ไฟล์ NEF (RAW)
ภาพ ๒ สายคลื่นที่ซัดสาดเข้าหากลุ่มหินในแสงสุดท้ายเมื่อพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า ใช้ความไวชัตเตอร์ตํ่า ๓ นาที คลื่นจึงไม่มีรูปทรง เห็นเป็นเพียงสีขาวที่ดูเคลื่อนไหวไปมา อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า จังหวัดระยอง
บันทึกภาพด้วยกล้อง Nikon D810 เลนส์ AF-S Nikkor 120 mm f/4G ED VR ช่องรับแสง ๒๒ ความไวชัตเตอร์ ๓ นาที ใช้ฟิลเตอร์ครึ่งซีกสีเทาเพื่อให้บริเวณท้องฟ้ามีสีเข้มขึ้น ตั้งค่าความไวแสงที่ ๒๐๐ ISO
ไฟล์ NEF (RAW)
     99 99 อนุสาร อ.ส.ท.   เมษายน ๒๕๖๓
 





















































































   99   100   101   102   103