Page 66 - OST April 2020
P. 66
๑I1
๑ . ร ง่ ุ อ ร ณุ ท สี ่ ะ พ า น ป ร ะ แ ส ส นิ
2. อปุ กรณเ์ ลน่ นา้ หลากสสี นั สา หรบั ครอบครวั ตวั นอ้ ย
ทหี่ าดแหลมแมพ่ มิ พ์
3. อนสุ าวรยี ส์ นุ ทรภู่ จดุ เชอื่ มโยง การทอ่ งเทยี่ วบนถนนเฉลมิ บรู พาชลทติ
๔. กจิ กรรมนกั ทอ่ งเทย่ี ว กบั นา้ ทะเลใส ๆ ทเี่ กาะทะลุ
1. Prasae Sin Bridge at dawn.
2. Colorful playing equipment for a little family at Hat Leam Mae Phim.
3. Sunthon Phu Monument,
a connecting point of travel
on Chaloem Burapha Chonlathit Road.
4. Tourists’ activities with clear seawater at Ko Thalu.
และท่ีไม่ควรพลาด น่ันคือต้นแสมยักษ์ที่แผ่ก่ิงก้านสาขากว้างใหญ่และสวยงาม เป็นจุดไฮไลต์อีกจุดหนึ่ง ของการมาเท่ียวทุ่งโปรงทอง ยามน้าทะเลหนุนสูงข้ึน ก็แลดูเหมือนว่าเรากาลังเดินอยู่บนผืนน้าภายใต้ความร่มร่ืน ของป่าชายเลน พร้อมกับสรรพเสียงหมู่นกหลากชนิด โดยเฉพาะเจ้ากระเต็นอกขาว ที่ออกมาอวดโฉมอยู่บ่อยครั้ง และสะพานไม้แห่งน้ีจะพาเราออกไปยังอนุสรณ์เรือหลวงประแส ซึ่งเราสามารถแวะเท่ียวชมประวัติศาสตร์ของ เรือรบลา นี้ได้อย่างใกล้ชิด จากนั้นก็เหมารถสามล้อพากลับไปยังจุดจอดรถที่ทุ่งโปรงทองได้
กล่าวถึงเรือหลวงประแส เรือรบหลวงท่ีปลดประจาการจากสงครามคาบสมุทรเกาหลี เป็นอนุสรณ์สถานที่มี ประวัติศาสตร์สาคัญของราชนาวีไทย จากการที่ประเทศไทยส่งกองกาลังไปช่วยรบในนามกองกาลังสหประชาชาติ เรือรบหลวงประแสลาท่ี ๑ ประสบอุบัติเหตุ เรือเกยต้ืนท่ีชายฝั่งในเขตประเทศเกาหลีเหนือ และไม่สามารถกู้เรือ ขึ้นมาได้ จนต้องทาลายเรือทิ้งตามยุทธศาสตร์ ต่อมารัฐบาลไทยในยุคนั้นได้ติดต่อขอซื้อเรือมาจากสหรัฐอเมริกา เป็นเรือรบหลวงประแส ลาที่ 2 ในปี พ.ศ. 2๔๙๔ และได้ใช้ปฏิบัติการในภารกิจการรบและภารกิจต่าง ๆ มายาวนาน
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2537 เรือรบหลวงประแสได้ทาการปลดประจาการ ต่อมาทางเทศบาลตาบล ปากน้าประแสได้เสนอโครงการก่อสร้างอนุสรณ์เรือหลวงประแสเพื่อเป็นที่ระลึกถึงประวัติศาสตร์การรักษา อธิปไตยของราชนาวีไทย ปัจจุบันเรือหลวงประแสได้ตั้งตระหง่านอยู่ในบริเวณปากนา้ ประแส
เรื่องราวของชุมชนปากน้าประแส คือเสน่หาเรือนไม้เก่าแก่ที่เป็นภาพสะท้อนในอดีตถึงความรุ่งเรืองของ เมืองท่าประมง แม้ว่าปัจจุบันจะเหลือให้เห็นภาพของวิถีชีวิตชาวประมงอยู่ตามท่าเรือริมน้า และมีการนาเอาวิถี ชาวประมงมาประยุกต์เป็นการท่องเที่ยวที่สอดคล้องให้เกิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวภาพใหญ่ จนทาให้วิถีชุมชนปากน้า ประแส ที่มีการผสมผสานเรื่องราววิถีชีวิต วัฒนธรรม ธรรมชาติ และประวัติศาสตร์ จนทาให้ “ประแส” กลายเป็น แหล่งท่องเที่ยวยั่งยืนอีกแห่งหนึ่งของเมืองระยอง
64 6๔
อนุสาร อ.ส.ท. เมษายน ๒๕๖๓