Page 54 - พระอาจารย์เทศน์เนื่องในโอกาสวันสำคัญทางพุทธศาสนา
P. 54

50
ไม่ผิดจากความรู้สึกตัวเอง เราจะพูดไม่ผิดจากสิ่งที่เราเห็น แต่อาจจะใช้ คาพูดผิดไปจากคนอื่นได้ อาจจะใช้คาพูดผิดไปจากตัวหนังสือได้ แต่พูด ตามความรู้สึกของตัวเอง อันนี้สาคัญ เราพูดตามที่เราเห็น ที่เรารู้สึกได้ จริง ๆ กลับมาเมื่อกี้ว่าเราพูดตรงกับสภาวะ
ทีนี้ การที่เราใช้คาพูดไม่ถูก เพราะบางทีพอเราจะพูดภาษาเรา เรากลัวว่าไม่เหมือนที่เขาพูดกัน ไม่เหมือนในหนังสือที่เขาว่าไว้ นั่นคือ ไม่เหมือนภาษาที่เขาพูดกัน พอใช้ภาษาเราเองก็ เอ๊! ถูกไหม เขาว่าอย่าง นั้นแต่เราว่าอย่างนี้ “จิตนุ่มนวลอ่อนโยน” ในภาษาบาลีมีไหม ? อ่อนคือ อะไร ? มุทุตา นี่ภาษาเขา จิตอ่อน จิตอ่อนโยนนุ่มนวล ก็คงจะมีคาอื่นที่ ใช้แทนล่ะนะ เป็นภาษาเขาใช้กัน เราก็เลยใช้ภาษาเรา เอ้า! พอจิตว่างแล้ว เติมมุทุตาลงไปนะ... มุทุตานี่มันจะเป็นอย่างไร ? ถ้าบอกว่า เพิ่มความ นุ่มนวลอ่อนโยนลงไปในใจเรา พอจิตว่างเพิ่มความอ่อนเข้าไปนะ... จิต อ่อนนี่เป็นอย่างไร ? ภาษาไทยนี่บางครั้งก็บอกว่าเยอะ จริง ๆ แล้ว เรา เลือกคาพูดที่ใช้ให้ตรงกับสภาวะได้เลย อันนี้จะดีเยอะเลย
เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรมของเรา ถ้าเราสังเกตหรือพิจารณา ตรงนี้ ที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงการที่เราปฏิบัติธรรมด้วยทางสายกลาง ไม่สุดโต่งเกินไป เราพิจารณาดูแล้ว สิ่งที่เราทาอยู่ เราก็ไม่ได้หลง เพลิดเพลินกับความสุขอะไรมากมาย และเราก็ไม่ได้ทาตัวเองให้ลาบาก และความเป็นกลางของจิตหรืออัพยากตธรรม จะอยู่ก็ต่อเมื่อขณะที่เรา มุ่งไปรู้อาการพระไตรลักษณ์อยู่ขณะนั้น จะไม่มีความชอบหรือไม่ชอบ แต่รู้ว่าขณะที่มุ่งไป แต่ละขณะที่มีการเปลี่ยนแปลง สภาพจิตรู้สึกดีขึ้น ใสขึ้น เบิกบานขึ้น สุขขึ้น หรือมีปีติขึ้น ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่ใช่ เพราะเราชอบหรือไม่ชอบ


































































































   52   53   54   55   56