Page 5 - อธิษฐานจิตพิชิตความสำเร็จ
P. 5
นายเวร ว่ามีมากน้อยเพียงไร การตัดสัญญาควรกระทําบ่อยๆ เพราะจะมีผลในการปฏิบัติธรรมในขั้น สูงๆ ต่อไปอย่างมาก เพราะเจ้ากรรมและนายเวรจะมาลิดรอนสมาธิในขณะที่ปฏิบัติ
5. พิจารณาขันธ์ 5
ปล่อยให้ว่าง วางให้เป็น เย็นให้พอ เพื่อจะได้ไม่กังวลในเรื่องขันธ์ทั้ง 5 เป็นสิ่งจําเป็นที่ผู้ปฏิบัติ
ทําความเข้าใจในความหมายว่า ขันธ์ 5 นั้น (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) เป็นสภาพธรรมของ รูปธรรมและนามธรรม 5 หมวดที่มาประชุมรวมกันเป็น บุคคล ตัวตน เรา เขา เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการ ลดอัตตา ตัวตัว ความหน่วงเหนี่ยว เกี่ยวเกาะ เพราะวันหนึ่ง เราเองก็จะต้องละจากโลกนี้ไป
1. รูป ได้แก่ ส่วนประกอบที่เป็นรูปธรรมทั้งหมด ร่างกาย พฤติกรรม และคุณสมบัติต่างๆ ของ ส่วนที่เป็นร่างกาย
2. เวทนา ได้แก่ ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือ เฉยๆ ซึ่งเกิดจากอายตนะ 6 หรือ สัมผัสทางประสาท ทั้ง 5 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) และทางใจ
3. สัญญา ได้แก่ ความกําหนดหมายรู้ในอารมณ์ หมายถึง การรู้ รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ หรือ ความนึกคิดต่างๆ เป็นต้น
4. สังขาร ได้แก่ องค์ประกอบหรือส่วนที่เป็นความปรุงแต่ง สภาพที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่ว หรือเป็นกลางๆ คุณสมบัติต่างๆของจิต มีเจตนาเป็นตัวนํา ซึ่งแต่งจิตให้ดีหรือชั่ว หรือเป็นกลางๆ ปรุงแต่งการนึกคิดในใจ และการแสดงออกทางกาย วาจา ให้เป็นกุศล อกุศล รวมเรียกง่ายๆว่า เครื่องปรุงแต่งจิต
5. วิญญาณ ได้แก่ ความรู้แจ้งในอารมณ์ทางอายตนะทั้ง 6 มีการเห็น การได้ยิน เป็นต้น
ขันธ์ทั้ง5นี้เป็นสภาพธรรมที่เกิดดับเป็นสภาพธรรมที่มีจริง ไม่เที่ยงเมื่อไม่เที่ยงจึงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ผู้ปฏิบัติจึงไม่ควรที่จะตามเห็นขันธ์5ว่าเป็นตัวตน สัตว์ บุคคล เพราะความเป็นไปของขันธ์5จะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว เกาะรั้งไม่ให้เกิดความเจริญทางจิตได้ จึง ควรละขันธ์ 5 ให้มากที่สุด
6. เริ่มฝึกลําดับจิตโดยเริ่มต้นจากการไหว้ครูชุดที่ 1
ในขั้นนี้หลักจากที่พิจารณากายในท่านั่ง ให้เกิดความเหมาะสมและเกิดความสบายแห่งกาย
แล้วให้เปลี่ยนอิริยาบถจากการคว่ํามือให้งายมือขึ้น เพื่อรับสิริและมงคล วางมือไว้เหนือเข่าตามรูป นิ้วทั้งสิบต้องแนบชิดสนิทกัน ไม่ให้มีแสงลอดผ่านได้ แล้วเริ่มบริกรรมเพื่อลําดับสติ เป็นการฝึก
5