Page 5 - เอกสารสัมมนา
P. 5

02


             ลักษณะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ




                  ส าหรับลักษณะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ นั้นมีด้วยกัน 2 ลักษณะ ได้แก           ่

                  1. การบูรณาการภายในวิชา (Interdisciplinary) เป็นการบูรณาการที่เกิดขึ้น

           ภายในขอบเขตของเนื้อหาเดียวกัน ซึ่งเป็นการผสมผสานเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่าง

           ความรู้ (Knowledge) หรือเนื้อหา (Content) และทักษะ (Skill) เข้าด้วยกัน เช่น การ

           สอนวิทยาศาสตร์ที่จะต้องมีการทดลอง มีการสร้างแบบจ าลองเพื่ออธิบายเนื้อหาในวิชา

           เรื่องนั้น ๆ

                  2. การบูรณาการระหว่างวิชา (Interdisciplinary หรือ multidisciplinary)

           เป็นการเชื่อมโยงหรือร่วมศาสตร์ต่าง ๆ ตั้งแต่ 2 สาขาวิชาขึ้นไปภายในหัวเรื่อง

           (Theme) เดียวกัน เป็นการเรียนรู้โดยใช้ความรู้ความเข้าใจและทักษะในศาสตร์หรือ

           ความรู้ในวิชาต่าง ๆ มากกว่า 1 วิชาขึ้นไป เพื่อแก้ปัญหาหรือการแสวงหาความรู้ ความ

           เข้าใจ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การเชื่อมโยงความรู้และทักษะระหว่างวิชาต่าง ๆ จะช่วยให้

           ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งไม่ใช่เพียงผิวเผินและมีลักษณะใกล้เคียงกับชีวิตจริงมากขึ้น




            รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ




                    ในส่วนของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการนั้น มีด้วยกัน 4 รูปแบบ

            ได้แก ่

                    1. การบูรณาการแบบสอดแทรก (Infusion  Instruction)  ครูผู้สอนในวิชา

            หนึ่งสอดแทรกเนื้อหาของวิชาอื่น ๆ เข้าในการเรียนการสอนของตน เป็นการสอนตาม

            แผนการสอนและประเมินผลโดยครูคนเดียว วิธีนี้ถึงแม้ผู้เรียนจะเรียนจากครูคนเดียว

            แต่สามารถมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างวิชาได้

                    2. การบูรณาการแบบขนาน (Parallel  Instruction)  ครูตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป

            สอนต่างวิชากัน ต่างคนต่างสอน แต่ต้องวางแผนเพื่อสอนร่วมกันโดยมุ่งสอนหัวเรื่อง /

            ความคิดรวบยอด / ปัญหาเดียวกันระบุสิ่งที่ท าร่วมกันและตัดสินใจร่วมกัน ว่าจะสอน

            หัวเรื่องหรือความคิดรวบยอดและปัญหานั้น ๆ อย่างไรในวิชาของแต่ละคน ใครควร

            สอนก่อนหลังงาน หรือการบ้านที่มอบหมายให้ผู้เรียนท าจะแตกต่างกันไปในแต่ละวิชา

            แต่ทั้งหมดจะต้องมีหัวเรื่องหรือความคิดรวบยอด หรือปัญหารวมกันการสอนแต่ละ

            วิชาจะเสริมซึ่งกันและกัน ท าให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันระหว่างวิชา
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10