Page 86 - Basic Thai Typing
P. 86
เทคนิคการพัฒนาความแม่นยำในการพิมพ์
1. การเริ่มฝึกพิมพ์ตัวอักษรแต่ละตัวในแต่ละบทควรเริ่มด้วยการฝึกพิมพ์ตัวอักษร แต่ละ
ตัว โดยผู้สอนขานนำตัวอักษรแต่ละตัวและให้ผู้เรียนพิมพ์ตามพร้อมออกเสียงตาม ตัวอักษรที่พิมพ์
นั้นไปด้วย
2. การฝึกพิมพ์ตัวอักษรแต่ละตัวเริ่มแรกที่ผู้สอนขานนำตัวอักษร ควรฝึกพิมพ์อักษร ตัวละ
3 ครั้ง ติดต่อกัน เช่น กกก กกก กกก ครูขานนำว่า “ ไก่ ไก่ ไก่ วรรค”
3. ให้ผู้เรียนฝึกพิมพ์ทบทวนตัวอักษรแต่ละตัวอย่างน้อยตัวละ 2 บรรทัด พร้อมให้
นักเรียนออกเสียงตัวอักษรนั้นเบาๆ อย่างมีสติในขณะพิมพ์ เพื่อเป็นการทบทวนความจำ ตัวอักษร
ที่พิมพ์ในขณะนั้นด้วย
4. ผู้สอนจับเวลาพิมพ์ตัวอักษรแต่ละตัวที่พิมพ์ทบทวนแล้วตัวละ 1 นาที โดยผู้เรียน พิมพ์
อักษรติดต่อกันจนกว่าผู้สอนจะบอกหยุดพิมพ์ตัวอักษรนั้น
5. เมื่อจับเวลาครบ 1 นาที แล้วให้ผู้เรียนนับตัวอักษรที่พิมพ์ได้ทั้งหมดใน 1 นาที นับ
เฉพาะตัวอักษรที่พิมพ์ถูกต้องและบันทึกจำนวนอักษรที่พิมพ์ได้ไว้ท้ายตัวอักษรนั้น
6. ในกรณีที่พิมพ์จับเวลาข้อความแต่ละข้อความ ผู้สอนควรจะต้องคัดเลือกคำยากใน
ข้อความนั้นให้ผู้เรียนได้ฝึกพิมพ์จับเวลาคำละ 1 นาที ประมาณ 5 – 6 คำ ของข้อความที่จะ จับ
เวลา ก่อนการจับเวลาข้อความนั้นๆ
7. ให้ผู้เรียนฝึกพิมพ์คำที่พิมพ์ผิดบ่อยๆ คำละ 1 - 2 บรรทัด
หมายเหตุ การฝึกพิมพ์ดีดด้วยการพิมพ์สัมผัสและพัฒนาความแม่นยำอยู่เสมอเป็นการฝึก
ความแม่นยำในการพิมพ์ที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นพื้นฐานเบื้องต้นในการพิมพ์ดีด ด้วยคอมพิวเตอร์อย่าง
มีประสิทธิภาพ
หน้าที่ 78