Page 18 - EBOOK_แสงเชิงรังสี
P. 18

สีของ


                                                                      ท้องฟ้า








                 แสงสีต่าง ๆ มีความสามารถในการกระเจิงของแสงแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความยาว

           คลื่นของแสงสีนั้น แสงสีม่วงมีความยาวคลื่นสั้นจะกระเจิงแสงได้ดีที่สุด และแสงสีแดง

           จะกระเจิงได้น้อยที่สุดเนื่องจากมีความยาวคลื่นยาวที่สุด


                 ตอนกลางวันดวงอาทิตย์ท ามุมชันกับพื้นโลก แสงเดินทางผ่านบรรยากาศเป็น

           ระยะทางสั้น อุปสรรคที่กีดขวางมีน้อย แสงสีม่วง คราม และน้ าเงิน ที่กระเจิงได้ดีจึงมีการ


           กระเจิงในทุกทิศทุกทางทั่วท้องฟ้า แต่ประสาทตาของเราจะรับแสงสีน้้าเงินได้ดีกว่าแสงสี

           ม่วง ท าให้เรามองเห็นท้องฟ้าเป็นสีน้้าเงิน ขณะที่แสงสีเหลือง ส้ม แดง มีการกระเจิงน้อย


           กว่ามากไม่ค่อยมีผลต่อการเห็นสีท้องฟ้าโดยรวม จึงท าให้เราเห็นท้องฟ้าเป็นสีฟ้าคราม

                  เวลาเช้า และเวลาเย็นดวงอาทิตย์ท ามุมลาดกับพื้นโลก แสงเดินทางผ่าน


           บรรยากาศเป็นระยะทางยาว อุปสรรคที่ขวางกั้นมีมาก แสงสีม่วง คราม และน้ าเงิน

           ปะทะกับโมเลกุลของอากาศเกิดการกระเจิงที่บรรยากาศรอบนอกจนหมด เหลือแต่แสง


           สีเหลือง ส้ม และแดงที่กระเจิงได้ไม่ค่อยดีหลุดรอดมาถึงบรรยากาศชั้นล่าง ดังนั้นใน

           ตอนเช้าเราจึงเห็นท้องฟ้าบริเวณทิศตะวันออกมีสีส้มแดง ส่วนตอนเย็นท้องฟ้าด้านทิศ


           ตะวันตกก็จะมองเห็นเป็นสีส้มแดงด้วยเหตุผลเดียวกัน



                               ดวงอาทิตย์ท ามุมชัน
                               กับโลกในตอนกลางวัน



                                                                                 ดวงอาทิตย์ท ามุมลาดกับ
                                                                                 โลกในตอนเช้าและเย็น
                                                  ระยะทางสั้น




                                                              ระยะทางยาว
                                                      โลก



                                                                                                       13
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23