Page 197 - วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาอาชีพและบริการ
P. 197
185
7. ผลกระทบของกัมมันตภำพรังสีต่อสิ่งมีชีวิต
รังสีที่แผ่ออกจากธาตุกัมมันตรังสีเมื่อผ่านเข้าไปในสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย จะ
ทําให้เกิดการแตกตัวเป็น ไอออนของอะตอมตามแนวทางที่รังสีผ่านไป
ทําให้เกิดผลเสียต่อสิ่งมีชีวิต 2 แบบ คือ
1) ผลของรังสีที่มีต่อร่ำงกำย คือ เกิดเป็นผื่นแดงขึ้นตามผิวหนัง ผม
ร่วง เซลล์ตายเป็นแผลเปื่อย เกิดเนื้อเส้นใยจํานวนมากที่ปอด (Fibrosis
of the Lung) เกิดโรคเม็ดโลหิตขาวมาก (Leukemia) เกิด ต้อกระจก
(Cataracts) ขึ้นในนัยน์ตา เป็นต้น ซึ่งร่างกายจะเป็นมากหรือน้อยขึ้นอยู่
กับปริมาณของรังสี ที่ได้รับส่วนของร่างกายที่ได้ และอายุของผู้ได้รับรังสี
ดังนั้น ผู้ได้รับรังสีมีอายุน้อยแล้วอันตรายเนื่องจาก รังสีจะมีมากกว่าผู้ที่มี
อายุมาก ในทารกแรกเกิดแล้วอาจได้รับอันตรายถึงพิการหรือเสียชีวิตได้
2) ผลของรังสีที่เกี่ยวกับกำรสืบพันธุ์ คือ ทําให้โครโมโซม
(Chromosome) เกิดการเปลี่ยนแปลง มีผลทําให้ลูกหลานเกิดเปลี่ยน
ลักษณะได้
กัมมันตรังสีก่อให้เกิดความเสียหายของเซลล์ สิ่งมีชีวิตถ้าได้รับ
รังสีมาก จะทําให้มีอาการป่วย ทางรังสีจนเสียชีวิต เช่น ถ้าได้รับรังสี
6,000 มิลลิซีเวิร์ตจะทําให้อ่อนเพลีย อาเจียน ท้องร่วง ภายใน 12 ชั่วโมง
เม็ดเลือดจะลดลงอย่างรวดเร็ว ผมร่วง มีไข้ อักเสบบริเวณปากและลําดับ
อย่างรุนแรง มีเลือดออกและมีโอกาสเสียชีวิตถึง 5096 ภายใน 2 - 6
สัปดาห์